
2-4 สิงหาคม 2567
โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ความเป็นมา งาน 40 ปี
ประเทศที่พัฒนาและมีฐานะทางเศรษฐกิจดีจะพบว่า ประเทศเหล่านั้นล้วนมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นอันมาก มีการพัฒนาองค์ความรู้และต่อยอดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ จึงกล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศ
ความเป็นมาของโครงการ
หากมองย้อนกลับไปในอดีตเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว ถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมน้อยอย่างมีนัยสำคัญ รัฐบาลในขณะนั้นได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เริ่มบรรจุแผนพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไว้เป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นับตั้งแต่ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 – 2534) เพื่อใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยหวังว่าเมื่อประเทศมีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง จะส่งผลให้ประชากรของประเทศในภาพรวมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เฉลี่ยต่อจำนวนประชากรสูงขึ้น และช่วยเสริมศักยภาพของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
รัฐบาลได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นให้ “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องนับจากนั้นเป็นต้นมา เพื่อเร่งรัดให้เกิดการผลิตทรัพยากรบุคคลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ก้าวสู่ประเทศที่ประชากรมีรายได้สูง และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีมากยิ่งขึ้นในอนาคต
โดยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2527 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ในปัจจุบันทั้งสองหน่วยงานหลังได้รวมเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
สสวท. ได้ดำเนินงานโครงการ พสวท. ต่อเนื่องมา 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2527 – 2533) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2534 – 2539) และระยะที่ 3 (พ.ศ. 2540 – 2544) โดยในช่วงการดำเนินโครงการระยะที่ 1 โครงการ พสวท. ได้รับพระกรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ที่ปรึกษาของโครงการ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2530 และในช่วงการดำเนินโครงการระยะที่ 2 โครงการ พสวท. ได้รับการสนับสนุนให้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็น “งานประจำ” ตามมติของคณะรัฐมนตรี วันที่ 4 มีนาคม 2540 และจัดให้เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของ สสวท. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2541 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน
โครงการ พสวท. มีเป้าหมายหลักในการผลิต นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย ที่มีศักยภาพสูงเพื่อสนองตอบความต้องการเร่งด่วนของประเทศ และได้สนับสนุนให้บัณฑิต พสวท. มีโอกาสสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ และผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาที่ประเทศต้องการหรือขาดแคลน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาวิจัย การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมที่แปลกใหม่ การสร้างสรรค์ผลงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศบนเวทีโลก
วัตถุประสงค์การดำเนินงาน (ในปัจจุบัน)
1) ผลิตนักวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาในระดับสูง และสามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ เพื่อเป็นฐานรองรับการพัฒนาประเทศและเสริมสร้างศักยภาพความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับความสามารถของประเทศสำหรับการแข่งขันในเวทีโลก
2) สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระตุ้นให้เกิดความสนใจเรียนและเลือกอาชีพในสายวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
เป้าหมายการดำเนินงาน (ในปัจจุบัน)
1) เป้าหมายเชิงปริมาณ: มุ่งเน้นการผลิตนักวิทยาศาสตร์จำนวนปีละ 180 คน
2) เป้าหมายเชิงคุณภาพ: มุ่งเน้นการผลิตนักวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ในระดับสูง และสามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาด้าน วทน. ของประเทศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับมหาวิทยาลัยให้ติดอันดับ Top 100 ของโลก และสามารถสร้างผลงานที่มีคุณภาพสูงเชิงประจักษ์ระดับโลกได้เพื่อสร้างโอกาสในการรับ Nobel Prize ในอนาคต
กรอบการดำเนินงาน (ในปัจจุบัน)
เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการสอดคล้องกับนัยสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลในการบริหารประเทศ ให้มีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สสวท. ได้จัดทำแผนปฏิบัติงาน สำหรับการดำเนินงานโครงการ (ช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12) โดยมีกรอบการดำเนินงานดังนี้
1) การสรรหานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเข้ารับทุน พสวท.
เพื่อให้การพัฒนาเยาวชนที่มีความสามารถพิเศษมีคุณภาพสูง สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ เป็นคนดีมีคุณธรรม มีความพร้อมที่จะก้าวสู่สังคมที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว รูปแบบการสรรหานักเรียนเข้ามาเป็นผู้รับทุน พสวท. อยู่บนพื้นฐานการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม การกระจายโอกาส การพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้ทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำ นำไปสู่สังคมที่เสมอภาคและเป็นธรรม
2) แนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพผู้รับทุน พสวท.
เมื่อนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุน พสวท. แล้ว ทุกคนจะต้องศึกษาวิชาต่าง ๆ ให้ครบตามหลักสูตรของสถานศึกษาและเข้าร่วมโปรแกรมเสริมและกิจกรรมพิเศษตามความเหมาะสมของแต่ละระดับเพิ่มเติม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการตามการดำเนินงานโครงการ พสวท. โดย สสวท. จะเป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่หลักในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของผู้รับทุน โดยเฉพาะในช่วงปิดภาคเรียนของแต่ละปี เพื่อให้นักเรียนทุน พสวท. เกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ ตลอดจนมีทักษะในการดำรงชีวิตสำหรับโลกศตวรรษที่ 21 พร้อมก้าวสู่มาตรฐานสากล ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานแตกต่างกันไปในแต่ละระดับ ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับปริญญาตรีในประเทศ ระดับปริญญาตรีต่างประเทศ ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก และระดับหลังสำเร็จการศึกษา
ศูนย์โครงการ พสวท. ในปัจจุบัน
ศูนย์โรงเรียน | ศูนย์มหาวิทยาลัย |
1. บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) | 1. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
2. สามเสนวิทยาลัย | 2. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
3. ศรีบุณยานนท์ | 3. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
4. พระปฐมวิทยาลัย | 4. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร |
5. ยุพราชวิทยาลัย | 5. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
6. พิษณุโลกพิทยาคม | 6. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร |
7. แก่นนครวิทยาลัย | 7. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
8. สุรนารีวิทยา | 8. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี |
9. หาดใหญ่วิทยาลัย | 9. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
10. เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช | 10. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ |
สาขาวิชาที่ให้ศึกษา
เพื่อให้ผู้รับทุนสามารถนำความรู้ความสามารถมาใช้ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม คิดค้นสิ่งประดิษฐ์และผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ รวมถึงสามารถต่อยอดและพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการยกระดับความสามารถของประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สูงขึ้น และทำให้ประชาชนในประเทศมีรายได้ในระดับสูงขึ้นอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โครงการ พสวท. จึงได้กำหนดสาขาวิชาเพื่อให้ผู้รับทุนในแต่ละระดับการศึกษาสามารถเลือกเข้าเรียนได้ดังนี้
1. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: ศึกษาในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์
2. ระดับปริญญาตรี: ศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Basic Science) หรือสาขาที่เป็นความต้องการ/จำเป็นของประเทศ
3. ระดับสูงกว่าปริญญาตรี: ศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (Basic Science) และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ตามความถนัดของผู้เรียน แต่ต้องสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการที่รับผิดชอบ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ในปัจจุบัน)
จากความมุ่งมั่นของ สสวท. ในการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการบริหารประเทศตามวิสัยทัศน์ ประเทศไทย 4.0 ผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะได้จากการดำเนินงานโครงการ พสวท. มีสาระสำคัญสรุปดังต่อไปนี้
1) มีบัณฑิต พสวท. ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง สำหรับ
(ก) เป็นอาจารย์ ในสถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัย เพื่อสอนและถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่เยาวชนของประเทศที่จะเป็นทรัพยากรบุคคลในอนาคตของชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสร้างองค์ความรู้ที่ก้าวหน้าทันสมัยให้วงการศึกษา เพื่อสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ
(ข) เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย สำหรับสร้างนวัตกรรม ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเสริมให้ประเทศไทยมีรายได้ต่อหัวมากกว่า 11,750 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อปี หรือเป็นผลงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์สอดคล้องและเป็นฐานรองรับการบริหารประเทศตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0
(ค) เป็นนักเทคโนโลยี/นวัตกร ที่คิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการต่อยอดเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชาติ ซึ่งจะส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการสร้างรายได้ของประชาชนให้เพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยมุ่งสู่การพัฒนาประเทศที่ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”
2) มีเป้าหมายของผลผลิต (Output) เป้าหมายของผลลัพธ์ (Outcome) และตัวชี้วัดที่ชัดเจน จากการดำเนินงานโครงการฯ สำหรับการสร้างนักวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาในระดับสูงและสามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศในอนาคต
3) ได้ระบบการคัดเลือกเยาวชน การกำกับดูแลและการจัดสรรทุน พสวท. และการบูรณาการทุน พสวท.กับทุนอื่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ช่วยให้การพัฒนานักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนวัตกร เป็นไปอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตรงตามความต้องการในภาพรวมของประเทศ โดยจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สถานะในปัจจุบันของโครงการ พสวท.
จากการดำเนินงานโครงการ พสวท. ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา มีผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลับมาปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ และได้สร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมจำนวนมาก ผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. หลายท่านได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นและมีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
1) นักเรียนทุน พสวท. และการปฏิบัติงานตอบแทนทุน
ปัจจุบันมีนักเรียนทุน พสวท. ที่กำลังศึกษาอยู่จำนวน 1,696 คน โดยแบ่งเป็นศึกษาในประเทศ จำนวน 1,309 คน ศึกษา ณ ต่างประเทศ จำนวน 387 คน และมีผู้สำเร็จการศึกษาและเข้าปฏิบัติงานตอบแทนทุนในหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 1,972 คน (ข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2567) สรุปข้อมูลตามรูปที่ 1 รูปที่ 2 และรูปที่ 3 ตามลำดับ

รูปที่ 1 จำนวนนักเรียนทุน พสวท. ที่กำลังศึกษาในประเทศ

รูปที่ 2 จำนวนนักเรียนทุน พสวท. ที่กำลังศึกษา ณ ต่างประเทศ

รูปที่ 3 จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. และหน่วยปฏิบัติงานตอบแทนทุน
ตั้งแต่ปี 2527 จนถึงปัจจุบัน ผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. ได้กลับมาปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ และได้สร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมจำนวนมาก และได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติต่าง ๆ มากมายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ รวม 91 รางวัล อีกทั้งยังมีผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์แล้ว จำนวน 26 คน
จากรางวัลและผลงานต่าง ๆ ของผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. ที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทุน พสวท. เป็นที่รู้จักในสังคมวิทยาศาสตร์ในวงกว้าง สสวท. จึงได้คัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. ที่สร้างสรรค์ผลงานวิจัยดีเด่นหรือทำหน้าที่เป็นผู้นำในการบริหารและพัฒนางานวิทยาศาสตร์ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน เข้าสู่หอเกียรติยศ พสวท. “DPST Hall of Fame” เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. โดยดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. ได้รับการจารึกชื่อไว้ในหอเกียรติยศ พสวท. แล้วจำนวน 49 คน ประกอบด้วยผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน 26 คน และผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นเทียบเท่าระดับกรมขึ้นไป จำนวน 23 คน

อัพเดต
🌟 ภาพกิจกรรม
งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2567 (DPSTcon2024)
วันที่ 2 – 4 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
วันที่ 2 สิงหาคม 2567 https://photos.app.goo.gl/L8XJZYw49FfE6njU7
วันที่ 3 สิงหาคม 2567 https://photos.app.goo.gl/a5K1fekFW4wWkQdW6
วันที่ 4 สิงหาคม 2567 https://photos.app.goo.gl/pTihxEKUYEuaue7j7
———————————-
🌟 หัวข้อการเสวนาพิเศษในงานครบรอบ 40 ปี ทุน พสวท. อาทิ
📍 วิกฤตพลังงานและโลกเดือดกับทางรอดด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
📍 เส้นทางชีวิต กับ 40 ปี โครงการ พสวท. ต่อการพัฒนาประเทศไทย
📍 พสวท. ไปต่อหรือพอแค่นี้
.
📆 2-4 สิงหาคม 2567 เตรียมพบกับ งานครบรอบ 40 ปี ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) ภายใต้แนวคิด “การสร้างกำลังคน พสวท. เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยอย่างยั่งยืน” ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
.
📺 รับชมการถ่ายทอดสดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในงานได้ทาง Facebook: IPST Thailand
———————————-
💬 คำพูดโดนใจจาก Exclusive Talk 💬
นับถอยหลังสู่งานครบรอบ 40 ปี ทุน พสวท.
EP.2 นักเรียนทุน พสวท. เจาะลึกชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย
———————————-
🎞️ รับชมย้อนหลัง https://www.facebook.com/share/v/tXWVjXFEShzHgoXL
———————————-
📣 เตรียมพบกับ “งานครบรอบ 40 ปี ทุน พสวท.”
.
งานครบรอบ 40 ปี ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “การสร้างกำลังคน พสวท. เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยอย่างยั่งยืน”
.
โดยได้รับเกียรติจากนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วยแขกผู้มีเกียรติ บัณฑิตและนักเรียนทุน พสวท. ที่คาดว่าจะมาร่วมงานในครั้งนี้อย่างคับคั่ง
🌟 คำพูดโดนใจจาก Exclusive Talk นับถอยหลังสู่งานครบรอบ 40 ปี ทุน พสวท.EP.1 40 ปี ทุน พสวท. สร้างเด็กฉลาดรู้คู่สังคมไทย
รับชมย้อนหลัง https://www.facebook.com/ipst.thai/videos/834427251868160
🎯 กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
1. การบรรยายพิเศษ
2. การเสวนาวิชาการ
3. นิทรรศการเกี่ยวกับทุน พสวท.
4. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเรียนทุน พสวท. ประจําปี 2567 (DPSTcon 2024)
🌟 มาทำความรู้จักทุน พสวท. กันเถอะ
ทุน พสวท. หรือ ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการผลิตนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนวัตกรในสาขาที่ขาดแคลนเพื่อเป็นฐานกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศ
จากการดำเนินงานที่ผ่านมามีผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ มีผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทั้งในประเทศและต่างประเทศ กลับมาปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ สร้างองค์ความรู้ สร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศเป็นจำนวนมาก หลายท่านมีผลงานโดดเด่นจนเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ปัจจุบัน ทุน พสวท. ดำเนินการผลิตนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ปีละ 180 คน โดยผู้รับทุน พสวท. จะศึกษาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่เป็นศูนย์ พสวท. รวมถึงสถานศึกษาชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศ
🌟 Exclusive Talk (EP.3) นับถอยหลังสู่งานครบรอบ 40 ปี ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.).
💬 หัวข้อสนทนา >> เผยเส้นทางอาชีพ นักเรียนทุน พสวท. จบแล้วไปไหน
📆 วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ดูสดพร้อมกันผ่านทาง Facebook: IPST Thailand
❓ผู้ชมที่รับชมถ่ายทอดสด พิมพ์คำถามหรือข้อเสนอแนะได้ที่ใต้คอมเมนต์ของโพสต์นี้ โดยทีมงานจะนำคำถามมา ถาม–ตอบ กันสด ๆ ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์
ประชาสัมพันธ์การลงทะเบียนงาน 40 ปี พสวท. งานครบรอบ 40 ปี ทุน พสวท. เปิดรับลงทะเบียนบุคคลทั่วไปจำนวนจำกัดที่สนใจร่วมฟังการบรรยายและการเสวนา ระหว่างวันที่ 1-10 กรกฎาคม 2567
ลงทะเบียนได้ที่ https://www.ipst.ac.th/40thdpst และคลิก “ลงทะเบียน”
งานครบรอบ 40 ปี ทุน พสวท. จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
สถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุดคือ สถานีหลักสี่
💥 งานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2567 (DPSTcon2024)
วันที่ 2 – 4 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร
👉 สำหรับผู้รับทุน พสวท. ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2566
1.ลงทะเบียนนำเสนอผลงานได้ที่เว็บไซต์ https://dpst-conference.ipst.ac.th
2.ปฏิบัติตามแนวทางการนำเสนอผลงานในรูปแบบปากเปล่า (Oral) เป็นภาษาอังกฤษ และแบบโปสเตอร์ (Poster) ขนาด A0 ตามรายละเอียดในเว็บไซต์
🎥 สำหรับผู้รับทุน พสวท. ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566
เข้าร่วมกิจกรรมและเตรียมการแสดง 1 ชุด ในงานเลี้ยงของวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567
🌟 Exclusive Talk (EP.2) นับถอยหลังสู่งานครบรอบ 40 ปี ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.).
💬 หัวข้อสนทนา >> นักเรียนทุน พสวท. เจาะลึกชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย
📆 วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2567 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ดูสดพร้อมกันผ่านทาง Facebook: IPST Thailand
❓ผู้ชมที่รับชมถ่ายทอดสด พิมพ์คำถามหรือข้อเสนอแนะได้ที่ใต้คอมเมนต์ของโพสต์นี้ โดยทีมงานจะนำคำถามมา ถาม–ตอบ กันสด ๆ ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์
📢 เตรียมพบกับ “งานครบรอบ 40 ปี ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) ภายใต้แนวคิด “การสร้างกำลังคน พสวท. เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยอย่างยั่งยืน”
.
📆 วันที่ 2-4 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
.
🎯 กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการบรรยายพิเศษ การเสวนาวิชาการ นิทรรศการเกี่ยวกับทุน พสวท. และการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเรียนทุน พสวท. ประจําปี 2567 (DPSTcon 2024)
Exclusive Talk นับถอยหลังสู่งานครบรอบ 40 ปี ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.)
หัวข้อสนทนา >> 40 ปี ทุน พสวท. สร้างเด็กฉลาดรู้คู่สังคมไทย
วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2567 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ดูสดพร้อมกันผ่านทาง Facebook: IPST Thailand
ผู้ชมที่รับชมถ่ายทอดสด สามารถพิมพ์คำถามหรือข้อเสนอแนะมาที่ใต้คอมเมนต์ของโพสต์นี้ โดยทีมงานจะนำคำถามมา ถาม–ตอบ กันสด ๆ ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์
เตรียมพบกับ “งานครบรอบ 40 ปี ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) ภายใต้แนวคิด “การสร้างกำลังคน พสวท. เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยอย่างยั่งยืน”
วันที่ 2-4 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
1. การบรรยายพิเศษ
2. นิทรรศการเกี่ยวกับทุน พสวท.
3. การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเรียนทุน พสวท. ประจําปี 2567 (DPSTcon 2024)
กำหนดการ
วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2567 (ภาพกิจกรรม)
เวลา | ห้องประชุม | เรื่อง |
---|---|---|
08:00 – 08:30 น. | โถงหน้าห้อง Grand Ballroom A – C | ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน |
08.30 – 10.00 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | พิธีเปิด
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล) ประธานในพิธี กล่าวเปิดงาน พิธีมอบโล่เกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์แก่ สสวท. และทุน พสวท. และพิธีมอบเสื้อ DPST Hall of Fame ให้แก่บัณฑิตทุน พสวท. โดยประธานในพิธี เชิญบัณฑิต พสวท. DPST Hall of Fame ทุกรุ่นขึ้นเวทีเพื่อถ่ายรูปร่วมกับประธานในพิธีเปิด จากนั้นชมนิทรรศการและบูธงานวิจัย ณ โถงทางเดิน และห้อง Grand Ballroom C ดำเนินรายการโดย
|
10.00 – 10.30 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ
“ความท้าทายในการพัฒนาประเทศไทย บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (นางสาวศุภมาส อิศรภักดี) ดำเนินรายการโดย
|
10.30 – 10.40 น. | โถงหน้าห้อง Grand Ballroom A – C | รับประทานอาหารว่าง |
10.40 – 12.00 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | เสวนาพิเศษ หัวข้อ
“เส้นทางชีวิต กับ 40 ปี โครงการ พสวท. ต่อการพัฒนาประเทศไทย” โดย
|
12.00 – 13.00 น. | ห้อง Jupiter | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 15.00 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | เสวนาพิเศษ หัวข้อ
“การพัฒนาระบบนิเวศวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของไทย (The development of science and technology ecosystem for enhancing Thailand competitiveness)” โดย
|
15.00 – 15.30 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | รับประทานอาหารว่าง และกิจกรรม Job Fair ช่วงที่ 1
|
15.30 – 16.30 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | การเสวนา ในหัวข้อ
“พสวท. ไปต่อหรือพอแค่นี้” โดย
|
16.30 – 18.30 น. | Grand Ballroom C | การนำเสนอผลงานของนิสิต นักศึกษา ทุน พสวท. แบบโปสเตอร์ ช่วงที่ 1 |
18.30 – 22.00 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | งานเลี้ยงแสดงความยินดีกับบัณฑิตทุน พสวท. ที่ได้รับคัดเลือกเข้าหอเกียรติยศ พสวท.
“DPST Hall of Fame” และผู้ได้รับโล่รางวัลในการทำคุณประโยชน์แก่ สสวท. และทุน พสวท. ดำเนินรายการโดย คณะทำงานฝ่ายบริหารเครือข่าย |
(18.30 – 19.00 น.) Special Talk
“อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของผู้รับทุน พสวท. ต่อการพัฒนาประเทศไทย” โดย ผู้อำนวยการ สสวท. (รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล) |
||
(19.00 – 20.00 น.) เสวนาพิเศษ
“เรื่องเล่าจาก 4 รุ่น 4 ทศวรรษ พสวท.” โดย
|
วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567 (ภาพกิจกรรม)
เวลา | ห้องประชุม | เรื่อง |
---|---|---|
08:00 – 09:00 น. | โถงหน้าห้อง Grand Ballroom A – C | ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน |
09.00 – 10.15 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | การเสวนาหัวข้อ
“วิกฤตพลังงานและโลกเดือดกับทางรอดด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” โดย
|
10.15 – 10.45 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | รับประทานอาหารว่าง และกิจกรรม Job Fair ช่วงที่ 2
|
10.45 – 12.00 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | การเสวนา หัวข้อ
“บทเรียนการวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์กับโอกาสการยกระดับด้วยนักวิจัยไทย” โดย
|
12.00 – 13.00 น. | ห้อง Jupiter | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 14.00 น. | ห้องนำเสนอผลงานแบบบรรยายตามสาขาวิชา จำนวน 8 ห้อง | การนำเสนอผลงานของนิสิต นักศึกษา ทุน พสวท. แบบบรรยาย ช่วงที่ 1 |
14.00 – 14.30 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | รับประทานอาหารว่าง และกิจกรรม Job Fair ช่วงที่ 3
|
14.30 – 17.00 น. | ห้องนำเสนอผลงานแบบบรรยายตามสาขาวิชา จำนวน 8 ห้อง | การนำเสนอผลงานของนิสิต นักศึกษา ทุน พสวท. แบบบรรยาย ช่วงที่ 2 |
17.00 – 19.00 น. | ห้อง Grand Ballroom C | การนำเสนอผลงานของนิสิต นักศึกษา ทุน พสวท. แบบโปสเตอร์ ช่วงที่ 2 |
19.00 – 20.00 น. | ห้อง Jupiter | รับประทานอาหารเย็นและและกิจกรรมเสวนา หัวข้อ
“ความท้าทายและความหวังของนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” โดย
|
20.00 – 22.00 น. | ห้อง Jupiter | กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์พี่น้อง พสวท.
ดำเนินรายการโดย คณะทำงานฝ่ายบริหารเครือข่าย |
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 (ภาพกิจกรรม)
เวลา | ห้องประชุม | เรื่อง |
---|---|---|
08:00 – 09:00 น. | โถงหน้าห้อง Grand Ballroom A – C | ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน |
08.45 – 10.00 น. | ห้องนำเสนอผลงานแบบบรรยายตามสาขาวิชา จำนวน 8 ห้อง | การนำเสนอผลงานของนิสิต นักศึกษา ทุน พสวท. แบบบรรยาย ช่วงที่ 3 |
10.00 – 10.30 น. | โถงหน้าห้อง Grand Ballroom A – C | รับประทานอาหารว่าง |
10.30 – 12.00 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | กิจกรรมเสวนาเส้นทางสู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์หัวข้อ
“เจาะใจ DPST Hall of Fame” โดย
|
12.00 – 13.00 น. | ห้อง Jupiter | รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 14.30 น. | ห้อง Grand Ballroom A – B | ผู้บริหาร สสวท. และนายกสมาคมนักเรียนทุนโครงการ พสวท. พบนักเรียนทุน
มอบรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย/โปสเตอร์ ของนิสิต นักศึกษา ทุน พสวท. พิธีปิด โดย ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า ประธานกรรมการ สสวท. ดำเนินรายการโดย
|
14.30 น. เป็นต้นไป | โถงหน้าห้อง Grand Ballroom A – C | รับประทานอาหารว่าง
เดินทางกลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ |
ข้อมูล ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2567
หมายเหตุ กำหนดการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
แบบประเมินความพึงพอใจ
ขอเรียนเชิญผู้เข้าร่วมงานครบรอบ 40 ปี ทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) ทุกท่าน ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ เพื่อให้คณะผู้จัดงานได้นำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดงานในครั้งถัดไป ความคิดเห็นของทุกท่านมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคณะผู้จัดงาน
ท่านสามารถตอบแบบประเมินได้ทางลิงก์ https://forms.gle/DoEEreBrocQZZSCd7 หรือสแกน qr code ในรูปด้านล่าง หากท่านส่งแบบประเมินภายในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ท่านจะมีสิทธิลุ้นรับรางวัลพิเศษสุด exclusive จาก พสวท. ดังนี้
- กล่องสุ่ม จำนวน 5 รางวัล
- กระเป๋าเป้ พสวท. สีเขียว จำนวน 4 รางวัล
- เสื้อยืดค่าย พสวท. จำนวน 10 รางวัล
- ปากกา parker จำนวน 10 รางวัล
** สำหรับนักเรียนทุน พสวท. ที่ประสงค์รับเกียรติบัตร ขอให้ตอบแบบประเมินทั้ง 3 วัน และส่งภายในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567

ผู้สนับสนุนการจัดงาน


