เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านการตั้งคำถาม
การตั้งคำถามเป็นพื้นฐานสำคัญขอ […]
การตั้งคำถามเป็นพื้นฐานสำคัญขอ […]
การตั้งคำถามทีความสำคัญอย่างมากกับการได้มาซึ่งความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คำถามมีจุดเริ่มต้นจากความสงสัยใคร่รู้และนำไปสู่การสำรวจอย่างรอบคอบเพื่อตอบคำถามที่สงสัยของนักวิทยาศาสตร์โดยใช้ความรู้เดิมของตนและทำงานอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ
ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 เชื่อว่าเราทุกคนต้องปรับตัวกันในทุกด้าน ไม่เว้นแม้กระทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสถานการณ์นี้ ทำให้ทุกโรงเรียนได้รับผลกระทบอย่างมากที่ต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจาก On-site มาเป็น Online ผู้สอนซึ่งเป็นกลไกสำคัญก็ต้องปรับตัวกันอย่างหนักเช่นเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ๆ ให้กับผู้เรียน โดยที่ต้องยังคงประสิทธิภาพการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสูงสุดเท่าที่จะทำได้
การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะสำคัญที่สะท้อนหรือสื่อถึงความเข้าใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แต่ยังเกิดขึ้นน้อยมากในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นที่การสอนแบบบรรยายหรือการจัดกิจกรรมการทดลอง และไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกการอภิปรายหรือสร้างคำอธิบายของตนเอง ต่อเนื้อหาหรือกิจกรรมที่ตนกำลังศึกษา เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา เนื้อหาและกิจกรรมในวิชาวิทยาศาสตร์แต่ละชั้นปีมีมาก ครูหลายคนอาจไม่เห็นคำสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้งคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ หรือไม่รู้ว่าจะเริ่มฝึกผู้เรียนอย่างไร และหลายคนก็ไม่เชื่อว่าผู้เรียนจะสามารถสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองได้ จึงเห็นได้ว่าหลังการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่ครูจึงเป็นผู้สรุปแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ได้เรียนในแต่ละกิจกรรม
ผังมโนทัศน์ (Concept Map) เป็นการนำเสนอแนวคิด โดยมีการจัดลำดับแนวคิดและแสดงความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งอาจมีสองแนวคิดหรือมากกว่านั้น ผังมโนทัศน์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน ผังมโนทัศน์ช่วยให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิดขั้นสูง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองหรือสรุปแนวคิดเพื่อแสดงถึงความเข้าใจในเนื้อหาต่าง ๆ ที่ตนเองได้เรียนรู้
เมื่อพูดถึงการพยากรณ์ หลาย ๆ คนอาจนึกถึงภาพหมอดูกำลังทำนายโชคชะตาจากลายมือหรือจากไพ่ แต่รู้หรือไม่ว่าการพยากรณ์ (Predicting) นั้นเป็นหนึ่งในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการตอบคำถามที่สงสัย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา อาจเริ่มฝึกทักษะจากการสังเกต (Observing) ซึ่งเป็นการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทั้งการดู การดม การชิม การฟัง การสัมผัส โดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็น
คุณเคยได้ยินเสียงบ่น หรือเห็นสีหน้ากังวล เบื่อหน่ายของนักเรียนหรือไม่ เมื่อรู้ว่าจะมีการทดสอบหลังจบบทเรียน มันเกิดขึ้นเพราะอะไร เราควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับนักเรียนของเรา