วันการประมาณค่าพาย (Pi Approximation Day)

ตัวอักษรกรีก π (อ่านว่า พาย) ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็นสัญลักษณ์ใช้แทนค่าคงตัวที่หาได้จาก อัตราส่วนของความยาวเส้นรอบวงของวงกลม ต่อความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมใด ๆ ซึ่งเชื่อกันว่ามนุษย์น่าจะรู้จักค่าคงตัวนี้มาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ หรือ ประมาณ 2,550 ปีก่อนคริสตกาล

วันดีเอ็นเอโลก (World DNA Day)

วันที่ 25 เมษายนของทุกปี เป็นวันดีเอ็นเอโลก (World DNA Day) เพื่อรำลึกถึงการค้นพบโครงสร้างและหน้าที่ของ DNA ซึ่งนับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทางวิทยาศาสตร์ นำไปสู่การไขความลับของการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

อาเลสซันโดร วอลตา (Alessandro Volta)

อาเลสซันโดร วอลตา (Alessandro Volta) เป็นนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี เป็นหนึ่งผู้บุกเบิกการพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถให้กระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยผลงานการประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้าจากการทำปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารละลายกับโลหะบางชนิด ซึ่งอุปกรณ์นี้เรียกได้ว่าเป็น “เซลล์ไฟฟ้าเคมี” เซลล์แรกของโลก

ดิมิทรี เมนเดเลเอฟ (Dmitri Mendeleev)

ในปี พ.ศ. 2412 ดิมิทรี เมนเดเลเอฟ (Dmitri Mendeleev) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย และยูลิอุส โลทาร์ ไมเออร์ (Julius Lothar Meyer) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ศึกษารายละเอียดของธาตุต่าง ๆ ทำให้มีข้อสังเกตว่า ถ้าเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมาก จะพบว่าธาตุมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วง ๆ การที่ธาตุต่าง ๆ มีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วงเช่นนี้ เมนเดเลเอฟได้ตั้งเป็นกฎที่เรียกว่า กฎพิริออดิก (periodic law)

1 2 6

ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content