
การตั้งคำถามเป็นพื้นฐานสำคัญของการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คำถามทางวิทยาศาสตร์ต้องสามารถหาคำตอบได้ด้วยการสำรวจตรวจสอบเชิงประจักษ์ (Empirical Investigations) ที่ทำให้ได้หลักฐานเพื่อการอธิบายเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งมีชีวิต เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ในธรรมชาติที่สนใจ ด้วยการสังเกตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การหาความสัมพันธ์ หรือการเปรียบเทียบ เป็นต้น
.
โดยทั่วไป คำถาม “ทำไม” หรือ “อย่างไร” เป็นคำถามที่ชวนให้คิด แต่หากปรับเปลี่ยนรูปประโยคคำถามไปเป็น “อะไร” “ใคร” “เมื่อใด” หรือ “สิ่งใด” ก็นำไปสู่การสืบเสาะหาความรู้ต่อไปได้ด้วย
.
ตัวอย่างคำถามทางวิทยาศาสตร์ที่ดี
- น้ำปริมาณเท่าใดที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของพืชที่สุด
- น้ำมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างไร
- ไส้เดือนดินตอบสนองต่อแสงอย่างไร
- วัสดุที่ดูดซับน้ำได้และวัสดุที่ดูดซับน้ำไม่ได้มีลักษณะอย่างไร
- ผลึกเกิดขึ้นได้อย่างไร
.
อ่านต่อได้ที่ กฤษลดา ชูสินคุณาวุฒิ. (2566). การตั้งคำถามทางวิทยาศาสตร์. นิตยสาร สสวท., 51(241), 14-16. >> https://emagazine.ipst.ac.th/241/14/