ฝ่ายส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.)


โครงการ สควค. ระยะที่ 4 มีทุนกี่ประเภท กำหนดให้ศึกษา ณ สถาบันใด และในสาขาวิชาใดได้บ้าง

ทุนโครงการ สควค. ระยะที่ 4 ประกอบด้วยทุน 2 ประเภท ได้แก่ 1) ทุนประเภท 1 ระดับปริญญาตรี-โท โดยให้เริ่มศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ หรือวิทยาการคอมพิวเตอร์ ณ สถาบันตามการประกาศของโครงการแต่ละปี แล้วให้ศึกษาต่อเนื่องระดับปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณิตศาสตร์ศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ในหลักสูตรที่โครงการจะประกาศเป็นรายชื่อให้ทราบ และ 2) ทุนประเภท 2 ระดับปริญญาโท โดยให้ศึกษาในหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณิตศาสตร์ศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ณ สถาบันตามการประกาศของโครงการแต่ละปี


ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างโครงการ สควค. ระยะที่ 4 กับระยะที่ 3 มีอะไรบ้าง

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างโครงการ 2 ระยะ คือ

1) โครงการระยะที่ 4 มีการให้ทุนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี (ในประเภท 1) สำหรับทุนระดับปริญญาโท (ในประเภท 2) ไม่มีประเภททุนที่เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร กศ.บ. ศษ.บ. ค.บ. หรือ วท.บ. (ในแผนการเรียนที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพครู)

2) โครงการระยะที่ 4 ไม่กำหนดเกณฑ์ผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษสำหรับผู้รับทุนก่อนส่งเข้าบรรจุปฏิบัติงาน

3) ผู้สำเร็จการศึกษาในระยะที่ 4 จะได้รับการบรรจุเพื่อปฏิบัติงานชดใช้ทุนในโรงเรียนที่มีความต้องการครูวิทยาศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์ หรือครูเทคโนโลยี โดยไม่จำกัดขนาดหรือจุดเน้นของโรงเรียน และไม่จำเป็นต้องเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในภูมิลำเนาของผู้สำเร็จการศึกษา


ทุนการศึกษาขณะศึกษาระดับปริญญาตรี ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าใด

ผู้รับทุนประเภท 1 แต่ละคนจะได้รับทุนการศึกษาครอบคลุม 1) ค่าธรรมเนียมการศึกษาที่จ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 240,000 บาท ต่อหลักสูตร 2) ค่าหนังสืออ่านประกอบ จำนวน 20,000 บาท ต่อหลักสูตร 3) ค่าใช้จ่ายสนับสนุนการทำวิจัยตามหลักสูตร จำนวน 10,000 บาท ต่อหลักสูตร 4) ค่าคอมพิวเตอร์ จำนวน 25,000 บาท ต่อหลักสูตร และ 5) ค่าใช้จ่ายส่วนตัว จำนวน 112,800 บาท/ปี (9,400 บาท/เดือน) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี (ไม่เกิน 48 เดือน)


ทุนการศึกษาขณะศึกษาระดับปริญญาโท ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าใด

ผู้รับทุนประเภท 1 และประเภท 2 แต่ละคนจะได้รับทุนการศึกษาครอบคลุม 1) ค่าธรรมเนียมการศึกษาที่จ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ต่อหลักสูตร 2) ค่าหนังสืออ่านประกอบ จำนวน 20,000 บาท ต่อหลักสูตร 3) ค่าใช้จ่ายสนับสนุนการทำวิจัยตามหลักสูตร จำนวน 25,000 บาท ต่อหลักสูตร 4) ค่าคอมพิวเตอร์ (เฉพาะผู้รับทุนประเภท 2) จำนวน 35,000 บาท ต่อหลักสูตร และ 5) ค่าใช้จ่ายส่วนตัว จำนวน 128,400 บาท/ปี (10,700 บาท/เดือน) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี (ไม่เกิน 24 เดือน)


ผู้รับทุนประเภท 1 ต้องทำอะไรบ้างเป็นอย่างน้อย ขณะศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อคงสถานภาพความเป็นผู้รับทุน

– มีสภาพเป็นนิสิตนักศึกษา

– ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาตามแผนการศึกษาที่หลักสูตรกำหนด

– มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นสุดแต่ละปีการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.00

– ระหว่างศึกษาภาคเรียนที่ 1 ในชั้นปีที่ 4 ต้องมีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษที่เทียบกับ The Common European Framework of Reference For Languages (CEFR) ไม่น้อยกว่าระดับ B1 โดยเป็นผลคะแนนจากชุดทดสอบและหน่วยทดสอบตามที่โครงการกำหนด

– ระหว่างศึกษาภาคเรียนที่ 2 ในชั้นปีที่ 4 ต้องสมัครเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรระดับปริญญาโทตามประกาศรายชื่อหลักสูตรจากโครงการ

– ไม่รับทุนอื่นที่มีเงื่อนไขอันเป็นอุปสรรคต่อการสำเร็จการศึกษาตามแผนการศึกษาและการปฏิบัติงานชดใช้ทุน

– เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้รับทุนตามที่โครงการกำหนด


ผู้รับทุนทั้งประเภท 1 และประเภท 2 ต้องทำอะไรบ้างเป็นอย่างน้อย ขณะศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อคงสถานภาพความเป็นผู้รับทุน

– มีสภาพเป็นนิสิตนักศึกษา

– ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาตามแผนการศึกษาที่หลักสูตรกำหนด

– มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นสุดแต่ละปีการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3.25

– ไม่รับทุนอื่นที่มีเงื่อนไขอันเป็นอุปสรรคต่อการสำเร็จการศึกษาตามแผนการศึกษาและการปฏิบัติงานชดใช้ทุน

– เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้รับทุนตามที่โครงการกำหนด


โครงการระยะที่ 4 จะเปิดรับสมัครคัดเลือกผู้รับทุนไปจนถึงในปีการศึกษาใด และจะมีจำนวนกี่ทุน

โครงการ สควค. คาดว่าจะมีการเปิดรับสมัครคัดเลือกผู้รับทุนในปีการศึกษา 2566 – 2569 ตามที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2566 โดยจะมีจำนวนทุนตามการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี


  • การบริหารการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.)
  • การพัฒนาครูวิทยากรแกนนำและครูเครือข่าย สควค. ให้สามารถขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คงนิตา เคยนิยม
ผู้อำนวยการฝ่าย สควค.
สมาชิกตำแหน่งเบอร์ภายใน
พวงเพ็ญ ทองจืดนักวิชาการ3351
นันทวัน สมสุขผู้เชี่ยวชาญ3352
วิโรจน์ ลิ่วคงสถาพรผู้ชำนาญ3353
สุวิมล จรูญโสตร์ผู้ชำนาญ3354
นันทิดา บุญประดับเจ้าหน้าที่อาวุโส3356
อุศนา ศรีพานิชเจ้าหน้าที่อาวุโส3357
คมพิเนต อู่เจริญนักวิชาการ3358
อรพรรณ พิพิธภัณฑ์เจ้าหน้าที่3359

สอบถามข้อมูล
อีเมล (To): psmt@ipst.ac.th

ส่งหนังสือราชการ
อีเมล (To): saraban@ipst.ac.th
สำเนาถึง (Cc): psmt@ipst.ac.th

ติดตามข่าวสาร
เว็บไซต์: ipst.ac.th/unit-psmt
เฟซบุ๊ก: IPST Thailand

โทรศัพท์
02 392 4021
แล้วกดต่อเบอร์ภายใน


ส่งข้อความถึงเรา