อุณหภูมิในหน่วย “เคลวิน”

William Thomson, 1st Baron Kelvin นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ ผู้พัฒนาระบบอุณหภูมิสัมบูรณ์ (absolute temperature) ที่ใช้แพร่หลายในแวดวงวิทยาศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

เคลวิน (K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิในระบบเอสไอ (SI units) เราสามารถแปลงอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสให้เป็นอุณหภูมิในหน่วยเคลวินได้จากสมการ [K = °C + 273.15]


ท่านมีผลงานที่สำคัญมากมายทางด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ สาขาไฟฟ้า และอุณหพลศาสตร์

  • อายุ 23 ปี Thomson และ James Prescott Joule ร่วมมือกันทำงานได้ค้นพบปรากฏการณ์ Joule–Thomson และยังพบอีกว่า ที่อุณหภูมิ -273.15 องศาเซลเซียส สรรพสิ่งจะอยู่ในสภาพนิ่ง คือ ไร้การเคลื่อนที่ใดๆ
  • อายุ 30 ปี ได้ทำงานร่วมกับ Rudolf Clausius ได้ตั้งกฎข้อที่ 2 ของวิชาอุณหพลศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรความร้อน และได้ศึกษาปริศนาอายุของโลกโดยใช้ทฤษฎีการนำความร้อนของ Fourier (Jean Baptiste Joseph Fourier)
  • อายุ 42 ปี ได้พัฒนาเทคนิคการวัดขนาดของอะตอม สร้างกัลวาโนมิเตอร์แบบใช้กระจก และได้จดลิขสิทธิ์อุปกรณ์นี้ อีกทั้งยังเป็นผู้รับผิดชอบโครงการวางสายเคเบิลโทรศัพท์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วย ซึ่งผลงานนี้เองที่ทำให้ได้รับการโปรดเกล้าเป็น “Sir”
  • อายุ 68 ปี ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น Baron Kelvin of Largs และเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกของอังกฤษที่ได้ตำแหน่ง Lord เพื่อเป็นเกียรติแก่ผลงานของเขา โดยนำชื่อมาจากแม่น้ำเคลวินที่ไหลผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร

Kelvin เสียชีวิตเมื่ออายุ 83 ปี ศพถูกนำไปฝังใน London เคียงข้าง Isaac Newton

อ้างอิง
ScienceDaily https://www.sciencedaily.com/terms/absolute_zero.htm
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) http://www0.tint.or.th/nkc/nkc52/nstkc011.html


ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content