วันเหมายัน (เห-มา-ยัน) วันที่กลางวันสั้นที่สุดในรอบปี

วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เป็นวันเหมายัน (Winter Solstice) วันที่แกนโลกทางซีกโลกเหนือเอียงออกจากดวงอาทิตย์มากที่สุด ส่งผลให้ประเทศทางซีกโลกเหนือรวมถึงประเทศไทย มีกลางวันสั้นและกลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี หรือที่คนไทยมักเรียกว่า “ตะวันอ้อมข้าว”

เนื่องจากวันเหมายัน ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะไม่เคลื่อนที่ผ่านเหนือศีรษะของผู้สังเกต ดังนั้น ชาวนาไทยจึงสังเกตเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่อ้อมต้นข้าวไปทางทิศใต้ และเรียกปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า ตะวันอ้อมข้าว นั่นเอง ด้วยความที่มีกลางวันที่สั้นและกลางคืนยาวนาน ทำให้มีอุณหภูมิสะสมลดต่ำลง หลายประเทศทางซีกโลกเหนือจึงถือว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นการเข้าสู่ฤดูหนาว ขณะที่ประเทศทางซีกโลกใต้ถือเป็นวันเริ่มต้นการเข้าสู่ฤดูร้อน

เรียนรู้เพิ่มเติม เรื่อง วันเหมายันและการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ ได้ใน
-สื่ออินเตอร์แอ็กทีฟซิมูเลชัน ตอน การเปลี่ยนตำแหน่งและเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าในรอบปี http://ipst.me/10592
– หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 (ฉบับปรับปรุง 2560)
– หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ม.6 (ฉบับปรับปรุง 2560)


ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content