
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แอดมินจึงขอน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ซึ่งหลายท่านอาจทราบอยู่แล้วว่าพระองค์ทรงมีพระราชพระราชกรณียกิจที่สำคัญมากมาย อาทิ การเลิกทาส การศึกษา การคลัง การปะปา เป็นต้น ในโอกาสวันปิยะมหาราช แอดมินจึงขอนำพระราชกรณียกิจด้านเทคโนโลยีในรัชสมัยของพระองค์ มาให้ทุกท่านได้ชม ดังนี้
๑. รถจักรไอน้ำ (การรถไฟ)
๒. เครื่องโทรเลข (การไปรษณีย์โทรเลข)
๓. การไฟฟ้า
สิ่งที่พระองค์ทรงริเริ่มไว้ยังคงเป็นรากฐานวิทยาการในปัจจุบัน และยังทรงมีพระราชกรณียกิจสำคัญอื่นๆอีกมากมาย ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ดั่งที่พระองค์ได้รับพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน”

รถจักรไอน้ำ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการสร้างทางรถไฟสาย กรุงเทพ-นครราชสีมา ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ซึ่งเป็นทางรถไฟของรัฐสายแรกขึ้น โดยใช้รถจักรไอน้ำลากจูงขบวนรถ
รถจักรไอน้ำ ใช้ความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเป็นเครื่องต้นกำลัง แก๊สร้อนจากการเผาไหม้จะเดินผ่านไปตามท่อที่อยู่ในหม้อน้ำ ที่เรียกว่า ท่อไฟ และคายความร้อนผ่านผนังท่อไปให้กับน้ำ ทำให้น้ำในหม้อน้ำเดือดจนกลายเป็นไอ เมื่อน้ำกลายเป็นไอน้ำในขณะที่มวลเท่าเดิม ปริมาตรจะขยายเพิ่มขึ้นมาก ทำให้เกิดไอน้ำแรงดันสูง ไอน้ำดังกล่าวจะผ่านไปด้านล่าง ดันให้ลูกสูบเคลื่อนไปมา ควบคุมการหมุนของวงล้อ ควันที่เหลือจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงและไอเสียจะถูกขับออกทางปล่องควัน
อ้างอิง : http://www.railway.co.th/main/profile/history.html
: หนังสือเรียน สสวท. รายวิชาเพิ่มเติม ฟิสิกส์ ชั้น ม.4-6 เล่ม 5 บทที่ 18 ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส

เครื่องโทรเลข
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางสายโทรเลข โดยใช้รหัสสัญญาณโทรเลขมอร์สภาษาไทยในการรับ-ส่งข้อความ สำหรับทางราชการทหารและประชาชนภายในประเทศ
เครื่องรับส่งสัญญาณโทรเลขของมอร์ส ประกอบด้วยส่วนสำคัญได้แก่ คันเคาะ หม้อไฟฟ้า ขวดลวด แกนเหล็ก แผ่นเหล็ก และมีขั้นตอนหลักการทำงานดังนี้
พนักงานส่งโทรเลขแปลข้อความที่จะส่งเป็นรหัสมอร์สที่ใช้การเคาะสั้น-ยาว แล้วจึงกดคันเคาะตามรหัสดังกล่าว การกดคันเคาะแต่ละครั้งทำให้เกิดวงจรไฟฟ้า หม้อไฟฟ้าจะจ่ายกระแสตามสายไฟสู่สถานีปลายทาง กระแสไฟจะไหล่ผ่านไปในขดลวดซึ่งพันรอบแกนหล็กเกิดเป็นแม่เหล็กไฟฟ้า เหนี่ยวนำให้แผ่นเหล็กด้านบนมากระทบ ทำให้เกิดเสียง สั้น-ยาว ตามรหัส
อ้างอิง : หนังสือเรียน สสวท. รายวิชาเพิ่มเติม ฟิสิกส์ ชั้น ม.4-6 เล่ม 4 บทที่ 15 ไฟฟ้าและแม่เหล็ก

การไฟฟ้า
การไฟฟ้าเข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) โดยท่านได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เดินสายไฟฟ้าและติดดวงโคมไฟฟ้าที่กรมทหารม้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างขึ้นในวังหลวงทันที และต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “โรงไฟฟ้าวัดเลียบ” ซึ่งเป็น โรงไฟฟ้าชนิดพลังไอน้ำ (พลังความร้อน) ขึ้นเพื่อใช้ในกิจการรถรางและจัดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแก่ประชาชนในพระนคร ซึ่งมีการผลิตไฟฟ้าชนิดพลังไอน้ำมีหลักการการทำงานดังนี้
โรงไฟฟ้าชนิดพลังไอน้ำ ใช้ความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ทำให้น้ำในหม้อน้ำเดือดกลายเป็นไอ ไอน้ำแรงดันสูงดังกล่าว จะหมุนกังหันไอน้ำที่เชื่อมต่อเข้ากับขดลวดในเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อขดลวดหมุนตัดสนามแม่เหล็ก ตามทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า
: หนังสือเรียน สสวท. รายวิชาเพิ่มเติม ฟิสิกส์ ชั้น ม.4-6 เล่ม 4 บทที่ 15 ไฟฟ้าและแม่เหล็ก