
วันที่ 21 มีนาคมของทุกปีเป็นวันดาวน์ซินโดรมโลก (World Down Syndrome Day) มาร่วมทำความรู้จักและเข้าใจ “ดาวน์ซินโดรม” ให้มากขึ้นกันเถอะ
ดาวน์ซินโดรมคืออะไร?
ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง (ปกติมี 23 คู่ 46 แท่ง) ทำให้เกิดความผิดปกติในการพัฒนาด้านร่างกายและสติปัญญา
คุณแม่กลุ่มเสี่ยง!! คุณแม่ทุกช่วงวัยมีภาวะเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์จะมีภาวะดาวน์ซินโดรม
- ๐ อายุ: คุณแม่อายุ 35+ เสี่ยงสูง (1:350) อายุน้อยกว่าเสี่ยงต่ำกว่า (1:700)
- ๐ ปัจจัยอื่น: ประวัติครอบครัว เคยคลอดบุตรดาวน์ซินโดรม การแบ่งเซลล์ผิดปกติ
ลักษณะทั่วไปของดาวน์ซินโดรม
- ๐ มีลักษณะใบหน้าจำเพาะ เช่น ตาห่าง ตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ศีรษะเล็ก
- ๐ มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กทั่วไป
- ๐ อาจมีปัญหาสุขภาพ เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิด ลำไส้อุดตัน ปัญหาสายตาและการได้ยิน
การดูแลและสนับสนุน
- ๐ การตรวจคัดกรองตั้งแต่ในครรภ์: ปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ทำให้รู้ได้ตั้งแต่ในครรภ์
- ๐ การดูแลแบบองค์รวม: การดูแลเด็กดาวน์ซินโดรมต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งครอบครัว แพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ
- ๐ การส่งเสริมศักยภาพ: เด็กดาวน์ซินโดรมสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้ หากได้รับการดูแลและส่งเสริมอย่างเหมาะสม
เนื่องในวันดาวน์ซินโดรมโลก IPST Thailand ขอชวนทุกคนมาร่วมกันสร้างสังคมที่เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่าง เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่าและมีความสุข
รับชมรายการ คุยกันวันละเรื่อง “ดาวน์ซินโดรมคืออะไร” >> https://youtu.be/_2ybT6pKeSw
อ้างอิง:
1) โรงพยาบาลกรุงเทพ: https://www.bangkokhospital.com/content/knows-down-syndrome
2) โรงพยาบาลสมิติเวช: https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ดาวน์ซินโดรม