
บทความสรุปจากงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียน ระดับชาติ (วทร.24 Online)
หัวข้อ การออกแบบกิจกรรมที่เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
ในอดีตที่ผ่านมา ครูหลายท่านใช้วิธีการจัดการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นไปที่เนื้อหามากกว่าทักษะและกระบวนการเรียนรู้ เป็นผลให้ผู้เรียนจำนวนไม่น้อยยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การอ้างอิงเหตุผล การสื่อสาร การเชื่อมโยง รวมถึงเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์
“ครูผู้สอนจะสามารถออกแบบกิจกรรมที่เสริมสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างไร”
แนวคิดเกี่ยวกับความคิดรึเริ่มสร้างสรรค์
ความคิดรึเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) : กระบวนการคิดที่อาศัยความรู้พื้นฐาน จินตนาการ และวิจารณญาณ ในการพัฒนาคิดค้นองค์ความรู้หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
องค์ประกอบของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Guilford, J.P. (1967).)
1) ความคิดคล่อง (Fluency) : ความสามารถในการคิดเพื่อให้ได้คำตอบจำนวนมากที่แตกต่างกัน หรือ หลากหลายวิธี
2) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) : ความสามารถในการคิดปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ สามารถคิดแล้วเลือกนำไปใช้ให้ตรงกับสถานการณ์หรือเงื่อนไขที่กำหนด
3) ความคิดริเริ่ม (Originality) : ความสามารถในการคิดเพื่อให้ได้ความคิดที่มีลักษณะแปลกใหม่
4) ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) : ความสามารถในการคิดที่มีรายละเอียดลุ่มลึกหลายแง่มุมในแต่ละคำตอบ
ลักษณะสำคัญของผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Guilford, J.P. (1967).)
1) มีความอยากรู้อยากเห็น
2) มีความไวต่อปัญหา
3) มีความคิดแหวกแนว
4) ชอบทำสิ่งท้าทาย
5) ชอบการเปลี่ยนแปลง
6) ทำงานเพื่อความพอใจ
7) มีอารมณ์ขัน
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผ่านการแก้ปัญหา (Problem-Solving Approach) : ใช้สถานการณ์ปัญหาที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์การแก้ปัญหาด้วยตนเองอย่างเป็นขั้นตอน โดยเลือกใช้สถานการณ์ที่เป็น “ปัญหา” ไม่ใช่ “แบบฝึกหัด” ควรเป็นปัญหาที่ยังไม่ทราบวิธีการหรือคำตอบในทันที
ตัวอย่างสถานการณ์ปัญหา
นาทีที่ 23.25 >> เลขโดด 8 กับเครื่องหมาย +
นาทีที่ 28.45 >> การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสบนกระดาษจุด 7×7
นาทีที่ 35.55 >> เศษส่วนในวงกลม 1 หน่วย
นาทีที่ 38.45 >> สร้างสรรค์รูปภาพจากแทนแกรม
นาทีที่ 40.45 >> การแบ่งกระเบื้อง
นาทีที่ 43.35 >> สมการที่ฉันสร้าง
แนวทางการประเมินผล : เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค
เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค (Rubric scoring) : เป็นการให้คะแนนที่คำนึงถึงทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียน ประเมินผลจากผลงานที่นักเรียนทำ หรือ พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก ไม่ได้พิจารณาที่คำตอบหรือผลลัพธ์สุดท้ายเพียงอย่างเดียว แต่ยังพิจารณาที่ขั้นตอนการทำงานของนักเรียนด้วย โดยมีการกำหนดระดับคะแนน พร้อมระบุรายละเอียดของผลงานหรือพฤติกรรมของนักเรียนไว้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
แบบที่ 1 แบบวิเคราะห์ กำหนดระดับคะแนนพร้อมระบุรายละเอียดของผลงานหรือพฤติกรรมของนักเรียนที่ควรมี “การแยกแยะ” ลงไปเป็นขั้น ๆ ของการทำงาน.แบบที่ 2 แบบองค์รวมกำหนดระดับคะแนนพร้อมระบุรายละเอียดของผลงานหรือพฤติกรรมของนักเรียนที่ควรมีเป็นภาพรวมของการทำงานทั้งหมด “ไม่ต้องแยกแยะ” ลงไปเป็นขั้น ๆ ของการทำงาน
แบบที่ 2 แบบองค์รวมกำหนดระดับคะแนนพร้อมระบุรายละเอียดของผลงานหรือพฤติกรรมของนักเรียนที่ควรมีเป็นภาพรวมของการทำงานทั้งหมด “ไม่ต้องแยกแยะ” ลงไปเป็นขั้น ๆ ของการทำงาน
จากการสำรวจพบว่า ยังมีครูอยู่จำนวนไม่น้อย ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเกี่ยวกับทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ การประเมินผลที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งหากได้รับความรู้อย่างถูกต้อง และนำไปประยุกต์ใช้อย่างถูกวิธี ครูผู้สอนจะสามารถช่วยผู้เรียนแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่กล่าวไปในตอนต้นได้อย่างแน่นอน