การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคตัวต่อ (jigsaw) เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดกิจกรรม แบบร่วมมือร่วมใจ ที่เน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ เหมาะสำหรับการเรียนรู้เนื้อหาที่มีจำนวนมาก และมีข้อจำกัดในเรื่องเวลา ในการจัดกิจกรรมมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
- แบ่งกลุ่มพื้นฐาน แบ่งกลุ่มผู้เรียนโดยให้จำนวนสมาชิกในกลุ่มพื้นฐานเท่ากับจำนวนหัวเรื่องที่กำหนด ให้หมายเลขแก่สมาชิก เช่น สมาชิกในกลุ่มมี 4 คน แต่ละคนจะมีหมายเลข 1, 2, 3 และ 4
- แบ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและมอบหมายงาน ให้สมาชิกที่มีหมายเลขเดียวกันมารวมกลุ่มใหม่ จะได้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญหมายเลข 1 หมายเลข 2 หมายเลข 3 และหมายเลข 4 ตามลำดับ มอบหัวข้อย่อยให้แต่ละกลุ่มผู้เชี่ยวชาญศึกษา สมาชิกของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่มจะต้องช่วยกันทำกิจกรรมและซักถาม อภิปรายจนเข้าใจในเนื้อหานั้นทุกคน
- แลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มพื้นฐาน ให้ผู้เรียนกลับเข้ากลุ่มพื้นฐานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้ศึกษาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มพื้นฐานช่วยกันสรุปความรู้ทั้งหมด
ขอบเขตการนำไปใช้
ความรู้ที่จะนำมาศึกษาต้องสามารถแบ่งเป็นหัวข้อย่อยที่เป็นอิสระต่อกัน เพื่อมอบหมายให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่มศึกษา
บทบาทของผู้สอน
- เตรียมหัวข้อย่อยของความรู้ให้มีจำนวนหัวข้อเท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่มพื้นฐาน
- เตรียมใบความรู้ของหัวข้อย่อย
- จัดหาวิธีการ สื่อ และอุปกรณ์ในการแบ่งกลุ่ม
- สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยคอยตั้งคำถามเป็นประเด็นในการอภิปรายและเก็บข้อมูลเพื่อนำเสนอในกลุ่มพื้นฐานต่อไป
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคตัวต่อ
เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
สาระการเรียนรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
1. จุดประสงค์ ให้ผู้เรียนสามารถ
1.1 บอกส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
1.2 อธิบายหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. แนวคิด
การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยสำคัญ 5 หน่วย ได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หน่วยส่งออก และหน่วยเก็บข้อมูล ซึ่งแต่ละหน่วยจะทำงานผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน
3. สื่ออุปกรณ์
3.1 ใบงาน
ใบงานที่ | เรื่อง | เวลา(นาที) |
1.1 |
หน่วยรับข้อมูล |
20
|
1.2 |
หน่วยประมวลผล |
|
1.3 |
หน่วยความจำ |
|
1.4 |
หน่วยส่งออก |
|
1.5 |
หน่วยเก็บข้อมูล |
|
1.6 |
ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ |
50 |
3.2 ใบความรู้
- ใบความรู้ที่ 1.1 เรื่องหน่วยรับข้อมูล
- ใบความรู้ที่ 1.2 เรื่องหน่วยประมวลผล
- ใบความรู้ที่ 1.3 เรื่องหน่วยความจำ
- ใบความรู้ที่ 1.4 เรื่องหน่วยส่งออก
- ใบความรู้ที่ 1.5 เรื่องหน่วยเก็บข้อมูล
3.3 อื่น ๆ
– สลากสำหรับแบ่งกลุ่มผู้เรียน
4. วิธีดำเนินการ
4.1 การจัดเตรียม
4.1.1 เตรียมใบความรู้และใบงานที่ 1.1–1.5 เท่ากับจำนวนผู้เรียน และใบงานที่1.6 เท่ากับจำนวนกลุ่ม4.1.2 เตรียมสลากสำหรับแบ่งกลุ่ม
4.2 ขั้นตอนดำเนินการ
4.2.1 ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และให้แต่ละกลุ่มกำหนดหมายเลขให้กับสมาชิกในกลุ่มเป็น หมายเลข 1-5 ตามลำดับ เรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มพื้นฐาน

4.2.2 ผู้สอนให้ผู้เรียนจับกลุ่มใหม่เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อร่วมกันศึกษาใบความรู้และทำใบงานดังนี้
- สมาชิกหมายเลข 1 ของกลุ่มพื้นฐาน ร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่ 1.1 และทำใบงานที่ 1.1
- สมาชิกหมายเลข 2 ของกลุ่มพื้นฐาน ร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่ 1.2 และทำใบงานที่ 1.2
- สมาชิกหมายเลข 3 ของกลุ่มพื้นฐาน ร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่ 1.3 และทำใบงานที่ 1.3
- สมาชิกหมายเลข 4 ของกลุ่มพื้นฐาน ร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่ 1.4 และทำใบงานที่ 1.4
- สมาชิกหมายเลข 5 ของกลุ่มพื้นฐาน ร่วมกันศึกษาใบความรู้ที่ 1.5 และทำใบงานที่ 1.5

4.2.3 ผู้สอนให้ผู้เรียนกลับเข้ากลุ่มพื้นฐานและให้สมาชิกแต่ละคนอธิบายเนื้อหาความรู้ที่ได้ ไปศึกษาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจนครบทุกคน และช่วยกันสรุปความรู้ลงในใบงานที่ 1.6
4.2.4 ผู้สอนสุ่มผู้เรียนนำเสนอคำตอบในใบงานที่ 1.6
4.2.5 ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปความรู้ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
5. การวัดและประเมินผล
5.1 1.1 – 1.6
5.2 ใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานของผู้เรียนเป็นกลุ่ม
6. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. “หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1”. (2553)
7. ข้อเสนอแนะ
- หากมีจำนวนผู้เรียนมาก สามารถแบ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเป็นโซน เช่น โซน A , โซน B
- ตัวอย่างการเตรียมสลากสำหรับแบ่งกลุ่ม พิมพ์และตัดสลาก จำนวน 40 ใบ ดังนี้
A11 |
A21 |
A31 |
A41 |
B11 |
B21 |
B31 |
B41 |
A12 |
A22 |
A32 |
A42 |
B12 |
B22 |
B32 |
B42 |
A13 |
A23 |
A33 |
A43 |
B13 |
B23 |
B33 |
B43 |
A14 |
A24 |
A34 |
A44 |
B14 |
B24 |
B34 |
B44 |
A15 |
A25 |
A35 |
A45 |
B15 |
B25 |
B35 |
B45 |
โดยที่ :
A12 หมายถึง ผู้เรียนที่อยู่โซน A กลุ่มที่ 1 และเป็นสมาชิกหมายเลข 2
B34 หมายถึง ผู้เรียนที่อยู่โซน B กลุ่มที่ 3 และเป็นสมาชิกหมายเลข 4
เขียนโดย นางสาวทัศนีย์ กรองทอง ผู้ชำนาญ