สสวท. ประกาศชัยครู – นักเรียน ยอดฝีมือ เวทีประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025

กรุงเทพฯ 24 เมษายน 2568ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  เป็นประธานในพิธีประกาศผลและมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในระดับนักเรียน โครงการ GLOBE Student Research Competition (GLOBE SRC) 2025 พร้อมด้วย นางสาวเขมวดี พงศานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สสวท. ร่วมในพิธีและมอบเกียรติบัตรให้ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมการประกวดฯ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2568  ณ ห้องประชุม Convention AB โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ

ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท.กล่าวว่าโครงการ GLOBE SRC เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยพัฒนา “วิทยาศาสตร์การเรียนรู้”  ซึ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในพื้นที่ของตนเอง พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงระบบ และการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ  สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับโลก

ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก Ms. Severine Leonardi (คุณเซเวอรีน เลโอนาร์ดี) รองผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยร่วมแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจแก่นักเรียนผู้เข้าร่วมงาน พร้อมยืนยันการสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยในด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง

งานในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในหมู่นักเรียนไทย ผ่านการทำวิจัย จากบริบทจริงในชุมชน โดยมีการบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ การสังเกต การเก็บข้อมูล และการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างสร้างสรรค์ ทั้งยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนทั่วประเทศ

กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานประกอบด้วยการนำเสนอผลงานวิจัยสิ่งแวดล้อมจากโรงเรียนต่าง ๆ พร้อมคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสวท. และด้านวิทยาศาสตร์  นิทรรศการและกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมแบบโปสเตอร์ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทั้งพิธีมอบรางวัล GLOBE SRC 2025 และ GLOBE TSS 2025

สำหรับปีนี้ผลงานวิจัยของนักเรียนที่ได้รับรางวัล โครงการ GLOBE Student Research Competition (GLOBE SRC) ประจำปี 2568 แบ่งเป็น 4 ประเภท โดยได้รับโล่รางวัล พร้อมเกียรติบัตรและเงินรางวัล ดังนี้

รางวัลดีเด่น การนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ จำนวน 3 ผลงาน ได้แก่

  • ผลงานวิจัย เรื่อง การศึกษาสมบัติของดินในแปลงปลูกผักอีหลืน และแนวทางการจัดการดินเพื่อปลูกผักอีหลืนและพืชทดลองโดยใช้ขี้เถ้าแทนการเผาหน้าดิน จากโรงเรียนบ้านห้วยห้อม มีนักเรียนได้แก่ เด็กหญิงพิชยา พัชรพนา เด็กหญิงยุวดี ไม่มีชื่อสกุล เด็กหญิงดาหลา ไม่มีชื่อสกุล และครูที่ปรึกษา คือ นายวรภพ จินวรรณ นางฉันทนา ศรีศิลป์
  • ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำและความหลากหลาย ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหน้าดินในบึงหนองบัว อำเภอเมืองอุบลราชธานี จากโรงเรียนนารีนุกูล นักเรียนที่วิจัย เด็กชายภานุพงศ์ วรรณวงษ์ เด็กหญิงณปภัช มิ่งแนน เด็กหญิงทรงพรพรหม ยอดคุณ และครูที่ปรึกษา นางสาวเบญจพร จันทร์จำปา นางสาวสุกัญญา กัญกาญจนะ          
  •   ผลงานวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบลักษณะและสมบัติของดินบางประการที่ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพของปลวก ในบริเวณสวนมะพร้าวและสวนปาล์มน้ำมันในตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช จากโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม มีนักเรียน คือ นายธนาพิสุทธิ์ เพทาย นางสาวกัลยกร รัตนมณี นางสาวณัฐรดี ไชยกุล และครูที่ปรึกษา นายณัฐสิทธิ์ อุ่นแก้ว นางสาวธีระรัตน์ อรุณรัตน์       

รางวัลระดับประถมศึกษา มีผลงานที่ได้รับรางวัลจำนวน 6 ผลงาน แบ่งเป็น

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานเรื่อง การศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนในป่าไผ่เพื่อการอนุรักษ์ป่าไผ่ริมแม่น้ำยวม หมู่บ้านห้วยวอก ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โรงเรียนชุมชนบ้านน้ำดิบ จากฝีมือของนักเรียน เด็กหญิงไอริณ ใฝ่ฝากพร เด็กหญิงกัญญาณัฐ วัชรดิสกุล เด็กหญิงธัญชนก บุญยวง ครูที่ปรึกษา นางตวิษา พรรณสุข นางสาวสุภาวรรณ สิงขรไชย
  • รองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาผลของหญ้าแฝกที่มีต่อคุณสมบัติของดินบริเวณริมชายฝั่งแม่น้ำ ในจังหวัดเชียงใหม่ จากโรงเรียนวารีเชียงใหม่ โดยนักเรียน เด็กชายตั้งมั่น ตั้งมั่นคงเด็กหญิงณปภัช ธนะพัฒน์ เด็กหญิงจุฑารัตน์ แก้วมานวล และครูที่ปรึกษา นางสาวรัตนาภรณ์ แหวนเพ็ชร นางสาวกุณฑลี ปันอิ่น
  • รองชนะเลิศ อันดับที่ 2  ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาคุณภาพน้ำและปริมาณแพลงก์ตอนพืช ในช่วงการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณอ่าวทองคำ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จากโรงเรียนปทุมานุกูล ด้วยฝีมือของนักเรียน เด็กหญิงพรรณนวสรวง ดนตรี เด็กหญิงจิรัชญา หมึกดำ เด็กหญิงพิชชาพร เอียดเพ็ง แลครูที่ปรึกษา นางสาวรัชดา ยุโส๊ะ นายภาคภูมิ สังข์ช่วย
  • ส่วนรางวัลชมเชย 3 ผลงาน ได้แก่โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์  โรงเรียนบ้านแม่ขรี (สวิงประชาสรรค์) จังหวัดพัทลุง และโรงเรียนวัดไม้เสี่ยว จังหวัดนครราชสีมา

 รางวัลระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลงานที่ได้รับรางวัลจำนวน 6 ผลงาน แบ่งเป็น

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ผลงานวิจัย เรื่อง การศึกษาสมบัติของดินและสภาพแวดล้อมบางประการที่ส่งผลต่อการเกิดดินสไลด์ เพื่อการเฝ้าระวังในจุดเสี่ยงภัยหมู่บ้านจอมกิตติ ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ของโรงเรียนชุมชนบ้านน้ำดิน จากฝีมือของนักเรียน เด็กหญิงอธิชา ดงเขาเขียว เด็กหญิงศุภสุตา คุณคำ เด็กหญิงดวงฤทัย อมรใฝ่สติ และครูที่ปรึกษา นางสาวนฤนาท วัฒนวงษ์ นางสาวกันต์กมล คุณรัตน์
  •  รองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพน้ำทางกายภาพและทางเคมีบางประการกับความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช บริเวณห้วยไผ่กุดหิน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จากโรงเรียนชุมแพศึกษา ด้วยฝีมือของนักเรียน เด็กชายพิชชานนท์ เบี้ยกระโทก เด็กชายปัญญพงษ์ ไตรสรณะศาสตร์ เด็กชายนรุตม์ชัย อักษรเจริญ และครูที่ปรึกษา นายอภิวัฒน์ ศรีกัณหา นายบัญชา เม้าทุ่ง
  •  รองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ผลงานวิจัยเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของความชื้นในดินต่อการกระจายตัวของปูนา ในฤดูกาลหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี พื้นที่ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน โดยทีมนักเรียน เด็กชายพงศ์พศวัต เหลืองรัตนา เด็กชายพิทยุตม์ ชุมยางสิม เด็กชายภูดิส ถานะ และครูที่ปรึกษา นายราชันย์ ต้นกันยา นายเชิดศักดิ์ ศรีเมือง
  • ส่วนรางวัลชมเชย 3 ผลงาน ได้แก่ทีมจากโรงเรียนชุมแพศึกษา โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัย ตรัง และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยทักษิณ ฝ่ายมัธยม โดยได้รับมอบโล่รางวัล พร้อมเกียรติบัตรและ เงินรางวัล

รางวัลระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีผลงานที่ได้รับรางวัลจำนวน 6 ผลงาน ประกอบด้วย

  • รางวัลชนะเลิศ ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคนิคการปลูกหญ้าคาทะเล (Enhalus acoroides) โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติในการยึดต้นเพื่อเพิ่มอัตราการรอดและการเจริญเติบโต โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัย ตรัง จากฝีมือของทีมวิจัย นายอับดุลฟัตตะฮ์ อวนข้อง นายปัณณธร วุ่นแก้ว ครูที่ปรึกษา นางสาวอาภาศรี ชุ่มชื่น นางศิริขวัญ หนูพุทธิ
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ผลงานวิจัย เรื่องการศึกษาคุณภาพดินที่ส่งผลต่อขนาดและน้ำหนักหัว ปริมาณแป้งและคุณภาพแป้งของต้นเท้ายายม่อม (Tacca leontopetaloides) ในบริเวณหาดราชมงคลตรัง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัย ตรัง ผู้วิจัยประกอบด้วย นางสาวณัฐชยา รุ่งโรจน์อสนี นางสาวญาณิตา แก้วบัวทอง ครูที่ปรึกษา นางสาวหนึ่งฤทัย ชัยมณี นางสาลามิหย๊ะ กิตติบุญญาทิวากร
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ผลงานวิจัย เรื่องการศึกษาคุณภาพดินและน้ำที่ส่งผลต่อคุณภาพส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม บริเวณตำบลควนชะลิก อำเภอหัวไทร และบริเวณบ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จากโรงเรียนแหลมราษฎร์บำรุง โดยทีมผู้วิจัยคือ นายชัยณรงค์ มากแก้ว นายณัฐกร สงจีน นางสาวศิริพร คามานันท์ ครูที่ปรึกษา นายณัฐพงศ์เสนขวัญแก้ว นางพัชรา วัฒพรหม
  • สำหรับรางวัลชมเชย 3 ผลงานได้แก่ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ โรงเรียนนานาชาติไชรส์เบอรี่ กรุงเทพฯ และโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล

ในปีนี้ยังมีการมอบรางวัล GLOBE Thailand Teacher Shining Star (GLOBE TSS) 2025 แก่ครูผู้มีผลงานโดดเด่นในการส่งเสริมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยมีรางวัล 3 ประเภท ได้แก่

  • ประเภท GLOBE Young Scientist Inspiration ได้แก่ นางศิริขวัญ ทนูพุทธิ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง และนายชุมพล ชารีแสน โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์
  • ประเภท Earth System Science Curriculum Implementation ได้แก่ นางขวัญใจ กาญจนศรีแม้ โรงเรียนวิเชียรมาตุ จังหวัดตรัง
  • ประเภท Climate Change Learning Activities ได้แก่ นางบรรณารักษ์ ตัญจพัฒน์กุล โรงเรียนวารีเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

สสวท. ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนและครูที่ปรึกษาทุกท่านที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ และทุกโรงเรียนที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเพื่อส่งเสริมการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมในเยาวชนไทย โดยกิจกรรมในครั้งนี้จะจุดประกายแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียน ครู และผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนให้ร่วมกันขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต

คลิกชมภาพในได้ที่นี่ : งานประกวดผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม GLOBE SRC 2025 (23-24 เม.ย. 68) โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ


ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content