พลาสเอ๋ย พลาสติก บรรจุภัณฑ์สุดชิคก่อนเป็น “ขยะ”

งานด่วน สั่งด่วน ส่งด่วน ! ! !

กรี๊ด….ดีไหมนั่น ต้องปั่นให้ทันส่งบ่าย มื้อเที่ยงนี้ฝากท้องด้วยนะเพื่อน

 “กระเพราไข่ดาว ชานมเย็น น้ำขวด แล้วอย่าลืมคุ้กกี้กาแฟของโปรด ร้านเดิมเนอะ เอากล่องข้าวหลายๆช่อง แก้วแฟนซี กับ ถุงลายมุ้งมิ้งด้วยเนอะ พลีสสสสสสส ”

………เฮ้อ ผ่านไปอีกมื้อที่เหลือคือ “ขยะ”ลงถัง

และหนึ่งในขยะสุดชิคที่แพร่หลายในปัจจุบันก็หนีไม่พ้น“ขยะพลาสติก”ทั้งจากครัวเรือน ร้านค้า ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วทุกแห่ง

วันนี้เลยพาแฟนๆไปทำความรู้จักกับพลาสติกในรูปแบบของ“บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร”ที่แพลตฟอร์มช่วยสอนออนไลน์ Project 14 สสวท. https://proj14.ipst.ac.th/m4-6-sci-basic/physical-sci-book1/sci-m5b1-015  หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์กายภาพ มัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง อาหาร ซึ่งมีตัวอย่างเสริมความเข้าใจ เข้าถึงง่ายเพราะสัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งแนวคำถามกระตุ้นความคิดแก้ปัญหาอีกด้วย

แม้ว่าที่ผ่านมาเราอาจได้สัมผัสกับบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารที่ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นกระทงใบตองใส่ขนมครกร้อนกรุ่น ห่อหมก ตะโก้ ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้ง กระบอกไม้ไผ่ใส่ข้าวหลาม เครื่องใช้สารพัดอย่าง เช่น พัดสานใบลาน ของเล่นพื้นบ้าน หรือแม้แต่กระทงงามวิจิตรในคืนลอยกระทง

แต่ยิ่งเทคโนโลยีก้าวล้ำ พฤติกรรมมนุษย์ก็ยิ่งปรับเปลี่ยน

พลาสติกกลายมาเป็น“บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร”และเครื่องใช้ไม้สอยสารพัด เป็นความคุ้นเคยที่กลมกลืนในชีวิตประจำวัน

รู้หรือไม่“บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร”ที่ผลิตจากพลาสติกซึ่งเป็น“พอลิเมอร์สังเคราะห์”นั้นได้มาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี 

และเนื่องจากพอลิเมอร์สังเคราะห์ที่นำมาทำผลิตภัณฑ์ใส่อาหารนั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้จึงต้องเลือกให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและควรใช้ให้ถูกประเภท เช่น

ถุงพลาสติกสำหรับใส่ของเย็นไม่ควรนำมาใส่ของร้อน และถุงพลาสติกสำหรับใส่ของร้อนก็ไม่ควรนำมาใส่ของเย็น  

 เรียนรู้สมบัติของพอลิเมอร์ชนิดต่างๆ ที่ส่งผลต่อการใช้งานผลิตภัณฑ์นั้นๆ  โครงสร้างทางเคมี  ปัญหาจากการใช้งานพลาสติกและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้พลาสติก รวมทั้งตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากกระบวนการรีไซเคิล และคำถามกระตุ้นความคิดแก้ปัญหาของชั้นเรียน

เมื่อใช้ประโยชน์จากพลาสติกแล้วก็ถึงเวลาเรียนรู้แนวทางแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้พลาสติก ได้แก่

  • การลดการใช้งาน  
  • การใช้ซ้ำ (Reused) เช่น ขวดน้ำ ถุงบรรจุของต่างๆ  
  • การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เช่น ถุงดำ ถังขยะ กระถางฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการ Recycle นี้จะไม่นำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารอีก

อย่าลืม ! รู้จักขยะก่อนจะทิ้ง

พลิกสังเกตุผลิตภัณฑ์จากพลาสติกที่เพิ่งใช้เสร็จว่า“รหัสพลาสติก”ชนิดต่างๆ บนผลิตภัณฑ์นั้นคืออะไร สามารถนำไป Recycle ได้หรือไม่  แล้วแยกทิ้งอย่างเหมาะสม

พาชั้นเรียนไปแกะรอยตามหาโครงสร้างทางเคมี และความหมายของรหัสพลาสติกชนิดต่างๆ กันได้ที่ Project 14 สสวท.“บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารhttps://proj14.ipst.ac.th/m4-6-sci-basic/physical-sci-book1/sci-m5b1-015  ซึ่งมีตัวอย่างเข้าใจง่ายเพราะสัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน และแนวคำถามกระตุ้นความคิดแก้ปัญหา ผู้ช่วยชั้นดีเพื่อจุดพลังความเข้าใจให้ชั้นเรียนอีกด้วย


ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content