รางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ดำเนินโครงการเชิดชูเกียรติครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยจัดให้มีการประกวดและมอบรางวัลครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน โดยที่ผ่านมามีครูที่ใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในชั้นเรียนและในโรงเรียนร่วมส่งผลงานประกวดและคัดเลือกเป็นจำนวนมาก

รางวัลครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและขับเคลื่อนให้มีการจัดการเรียนรู้          เชิงบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในโรงเรียนให้เป็นรูปธรรม และจัดให้มีการประกวดผลงานในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งในประเภทบุคคลและประเภททีม

สำหรับในปีนี้ สสวท. ได้จัดงานวันคล้ายวันสถาปนา สสวท. ครบ 50 ปี ในระหว่างวันที่ 15 – 17 มกราคม 2565  ในหัวข้อ การออกแบบการศึกษาแห่งอนาคต Redesigning Future Education ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) โดยได้รับ     พระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานวันคล้ายวันสถาปนา สสวท. ครบ 50 ปี พร้อมพระราชทานรางวัลครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประจำปี  พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562 ซึ่งได้รับโล่รางวัล เงินรางวัล และเข็มเชิดชูเกียรติ จาก สสวท. เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ประกอบด้วยรางวัลต่าง ๆ ดังนี้

รางวัลครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประจำปีพุทธศักราช 2561 แบ่งเป็น

            1. ครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประเภทบุคคล ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ นางรัชฎาภรณ์ ปัญญานวล  จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย พระพิพัฒน์ อภิวฑฺฒโน จากโรงเรียนร้องแหย่งวิทยาคม จังหวัดแพร่ และ นายภานุวัฒน์ เกียรตินฤมล จาก โรงเรียนบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

  2. ครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประเภทบุคคล ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ นายเกียรติศักดิ์ อินราษฎร จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย นางสาวจินตนา ธิปัน จากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และ นางรัตนาพรรณ อุตมีมั่ง จากโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารจังหวัดน่าน จังหวัดน่าน

            3. ครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประเภททีม ระดับประถมศึกษา ได้แก่ ทีมบ้านย่านดินแดง ประกอบด้วย  นางธิดารัตน์ ประจักษ์ นางสาวกฤษณา คลิ้งเคล้า นางฐิตาพร ภักดีใหม่ จากโรงเรียนบ้านย่านดินแดง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ นางจิรวรรณ อังศุชวาลวงศ์ จากโรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

            4. ครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประเภททีม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 3 ทีม ได้แก่

                        ทีม STEM Four Shared  ประกอบด้วย นางสาวกาญจนา ตุ่นคำแดง นางสาวจันทร์จิรา อยู่ยา นายกันตภณ นุชวิจิตร  นางจุฑามาศ มูลเขียว จากโรงเรียนแม่ปะวิทยาคม จังหวัดตาก

                        ทีมเก้าอี้กระดาษ ประกอบด้วยนางพิชญ์นภา สิงหกุล จากโรงเรียนบ้านกาศประชานุเคราะห์ จังหวัดแพร่       นางสาวสุภาวดี ธิกา จากโรงเรียนพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรีและ นายเขมรัฐ คำลือ จากโรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา จังหวัดน่าน

                        ทีม MATH – UTW  ประกวบด้วยนายนิรันดร์ บุญศรี นายไชยโพธิ์ ร่มโพธิ์ นางสาวจันทิมา กุลศรี นางสาวโชติรส ชุติพานิชเทศก์ จากโรงเรียนอุทัยวิทยาคม จังหวัดอุทัยธานี

5. ครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประเภททีม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2 ทีม ได้แก่

                        ทีม STEMKKW  ประกอบด้วยนายนาคิน สัจจะเขตต์ นายศิวะ ปินะสา จากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น

                        ทีมร่มประดู่ครูสมาร์ท  ประกอบด้วย นางสุพรรณวดี ประสงค์ จากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 2 จังหวัดสุราษฎร์ธานีและ ว่าที่ร้อยโทพลากร ประสงค์ จากโรงเรียนน่านคริสเตียนศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 รางวัลครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประจำปีพุทธศักราช 2562 แบ่งเป็น

            1. ครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประเภทบุคคล ระดับประถมศึกษา ได้แก่ นายสุทธิกานต์ เลขาณุการ จากโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม

2. ครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประเภทบุคคล ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ นางสาวสุพรรณษา อินทพงค์ จากโรงเรียนบ้านในสอย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

            3. ครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประเภทบุคคล ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรีจิรายุทธ์  อ่อนศรี จากวิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร นางสาวสุชาดา ว่องไว จากโรงเรียนศรีบุณยานนท์ จังหวัดนนทบุรี นายเกียรติศักดิ์ ทองคำ จากโรงเรียนคำเตยวิทยา จังหวัดยโสธร และ นายพิทธพนธ์ พิทักษ์ จากโรงเรียนกระบุรีวิทยา จังหวัดระนอง

            4. ครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประเภททีม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่

                        ทีมลงเรือลำเดียวกัน ประกอบด้วย นางสาวจุฑารัตน์ สุ่นประเสริฐ นายศุภกฤต รองาม นายกฤษดา ดวงจิตต์เจริญ จากโรงเรียนดรุณสิกขาลัย (โครงการ วมว.) กรุงเทพมหานคร

สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลชมเชยครูดีเด่น STEM Education ประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562 ได้รับโล่รางวัล และเงินรางวัล พร้อมเข็มเชิดชูเกียรติ จาก สสวท.  โดย สสวท. ได้จัดพิธีมอบรางวัล เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ผู้สนใจดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ https://50th.ipst.ac.th/


ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content