ปักหมุดจุดเด่น สสวท. องค์กรดิจิทัลที่เน้นสมรรถนะ  เตรียม IPST 3I 2H สู้โลกอนาคต

 ปี 2563-2564 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ก้าวข้ามอุปสรรคสู่การเรียนรู้วิถีใหม่ตามนโยบาย “IPST Go Digital” อย่างรวดเร็วสู่องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงาน และบริการของ สสวท. โดยใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการภายในอย่างครบวงจร รองรับการทำงานที่สะดวกรวดเร็ว และสนับสนุนการทำงาน Work From Home

ปี 2565 “IPST Go Digital” และ “ฐานสมรรถนะ” เป็นจุดเน้นในการดำเนินงานของ สสวท. โดยร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายปรับเปลี่ยนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ภายใต้การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ และพัฒนาความฉลาดรู้ของผู้เรียนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน  ได้แก่ การพัฒนาและส่งเสริมแนวทางการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะในโรงเรียนทุกระดับชั้นและการพัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ระดับประเทศและระดับนานาชาติ

สด ๆ ร้อน ๆ กับครึ่งปีที่ผันผ่าน ผลงานที่น่าจับตา 2565

ผลงานสำคัญที่ สสวท. ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เมื่อช่วงตุลาคม 2564- มีนาคม 2565  ประกอบด้วย

  • การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และกระตุ้นให้เกิดและใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำไปใช้ได้จริง ในรูปแบบต้นฉบับ ต้นร่าง ต้นแบบ ชุดกิจกรรม อุปกรณ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เน้นการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และการนำไปใช้ 168 รายการ ซึ่ง สสวท. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • การวิจัย วัดผล และประเมินผลการจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยร่วมกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) พัฒนาข้อสอบ TCAS 65 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ 8 วิชา และ ทปอ. ดำเนินการจัดสอบ TCAS 65 เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งจากการติดตามความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากสื่อต่าง ๆ  พบว่า ได้รับเสียงสะท้อนเชิงบวกเกี่ยวกับความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการประเมิน และข้อสอบวัดเนื้อหาภายใต้ขอบเขตของหลักสูตรและไม่เกินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และปรับแนวข้อสอบโดยใช้สถานการณ์หรือข้อมูลเป็นตัวนำเรื่อง ให้ข้อมูลที่จำเป็นเพียงพอ และนำไปสู่การคิดวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบ ไม่วัดความจำ แต่เน้นวัดความเข้าใจในเนื้อหา วัดการประยุกต์ใช้ความรู้ และการคิดวิเคราะห์ รวมถึงวัดสมรรถนะสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  ซึ่งข้อสอบลักษณะดังกล่าวสะท้อนความรู้ความสามารถของผู้สอบ และจะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการพัฒนาการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะควบคู่กับการวัดผลเชิงสมรรถนะในโรงเรียนให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป
  • ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ตามแนวทาง สสวท. โดยส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามแนวทางสะเต็มศึกษา ให้กับครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป 1,636 คน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และกำลังเตรียมจัดอบรมครูผู้สอนทั่วประเทศใน 4 สังกัด ได้แก่ สช. สพฐ. สถ. และ กทม. ในช่วงต่อจากนี้
  • การส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ได้ยกร่างหลักสูตรสมรรถนะสำหรับอบรมครูแกนนำระดับประถมศึกษา และจัดอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา 40,248 คน ซึ่งจะยังคงพัฒนาหลักสูตรและอบรมครูไปอย่างต่อเนื่อง
  • การยกระดับคุณภาพโรงเรียนระดับอําเภอด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้จัดทำหลักสูตรอบรมครูวิชาเคมี 2 หลักสูตร ซึ่งจะจัดอบรมในเดือนกันยายน เตรียมการอบรมหลักสูตรอบรมครูปฐมวัย ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา 6 หลักสูตรในเดือนเมษายน และกำลังจัดทำกรอบแนวทางพัฒนาหลักสูตรอบรมฐานสมรรถนะ
  • การเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สําหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 โดยพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ และ    จัดเสวนาออนไลน์แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนจากวิทยากรประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินโดนีเซีย
  • การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ทดลองใช้งานระบบ My IPST แก่โรงเรียนมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ 6 โรงเรียนเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงระบบ และจัดอบรมแนะนำการใช้งานระบบ My IPST ให้กับครูผู้สอนผ่านการประชุมทางไกล
  • การบริหารการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) สสวท. อยู่ระหว่างดำเนินการร่วมกับสถาบันการผลิตในการระหว่างพัฒนาโปรแกรมเสริมให้กับผู้รับทุนโครงการ สควค. ระยะที่ 4 ในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นครู และองค์ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง สสวท.
  • การบริหารการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) โดยเตรียมสอบคัดเลือกนักเรียนเข้ารับ พสวท. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจําปีการศึกษา 2565 และจัดอบรมโปรแกรมเสริม พสวท. ให้แก่นักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา
  • การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถและสมรรถนะตามกลุ่มงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้บุคลากร สสวท. มีผลการปฏิบัติงานเพิ่มสูงขึ้น และปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม
  • การบริหารจัดการ สสวท. ทุกมิติ ให้มีมาตรฐานเทียบเคียงเกณฑ์ TQA  ได้เข้ารับการประเมินองค์กรตามกรอบการประเมินองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ผลการประเมินในภาพรวมได้ 4.85 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5.00 และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อสมัครขอรับรางวัล PMQA 4.0 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่ง สสวท. ผ่านการประเมินขั้นตอนที่ 1 แล้ว

เป้าหมาย IPST 3I 2 H รหัส(ไม่)ลับ ขับเคลื่อนสมรรถนะ

  • ในส่วนของจุดเน้นการดำเนินงานในอนาคต สสวท. จัดทำแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) หรือ IPST 3I 2 H ได้แก่ Integrative Curriculum พัฒนาหลักสูตร สื่อ ต้นแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับนักเรียนในแต่ละช่วงวัยInnovative Platform  พัฒนาและขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพและทั่วถึง Inclusive Teaching ขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอน
  • ฐานสมรรถนะด้วยวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างมีส่วนร่วมให้สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก  High Performance Manpower พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และ High Performance Organization พัฒนาความเป็นเลิศขององค์กรที่เน้นการใช้ดิจิทัลและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างมีคุณภาพ

แนวทางของ สสวท. สู่ IPST 3I 2H ในปี 2566 สร้างคนคุณภาพเป็นพลังแห่งอนาคต

สิ่งที่ สสวท. จะดำเนินการเพื่อปรับรูปแบบงานให้ก้าวสู่ IPST 3I 2H ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้แก่

  • Integrative Curriculum & Innovative Platform พัฒนาหลักสูตรและสื่อที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพิ่มการวิจัยติดตามผลการใช้สื่อการเรียนรู้ และสนับสนุนให้โรงเรียนได้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ สสวท. ได้พัฒนาขึ้น
  • Inclusive Teaching พัฒนาครูให้จัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ร่วมกับเครือข่าย เพิ่มการติดตามผลเชิงรุก เน้นสร้างแกนนำในพื้นที่เพื่อสนับสนุนครูในการจัดการเรียน   การสอนที่มีคุณภาพ
  • High Performance Manpower พัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษฯ โดยมีทุนใหม่ 290 ทุน ดำเนินงานโครงการ สควค. ระยะที่ 4 ขยายผลและปรับแนวทางการพัฒนา เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาโครงการ พสวท. มีสมรรถนะที่จำเป็น มีศักยภาพสอดรับกับความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต
  • High Performance Organization เพิ่มสมรรถนะองค์กรด้านดิจิทัลและนวัตกรรม ให้สอดรับกับนโยบายองค์กรดิจิทัล และ PMQA4.0 โดยทำงานเชิงรุกและจัดวางระบบ Enterprise Architecture 

การวางแผนพัฒนาการศึกษา..เราต้องก้าวนำ

 “การศึกษาไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายในยุค VUCA World สสวท. จึงต้องปรับสู่องค์กรดิจิทัลงสมบูรณ์แบบเพื่อให้เข้าถึงผู้เรียนทั้งในระบบหรือนอกระบบ เพราะนักเรียนควรได้เรียนรู้ตามความสนใจและศักยภาพโดยไม่ต้องมีกรอบกำหนดหรือบังคับว่าช่วงวัยนี้ต้องเรียนรู้เรื่องนั้นเรื่องนี้เท่านั้น ซึ่งความท้าทายใหม่นี้ต้องเปลี่ยนการทำงานแบบเดิม เช่น สื่อเดิมที่เคยเน้นตำรากระดาษ  การอบรมครูแบบพบหน้า และการดำเนินงานที่สำคัญต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปดิจิทัลด้วย ซึ่งข้อดีคือการที่ผู้ใช้งานเข้าถึงสื่อ การอบรม และบริการ   ต่าง ๆ โดยใช้จ่ายน้อยกว่า  เมื่อเจอกับการเปลี่ยนแปลง สสวท. ต้องใช้เทคโนโลยีรับมืออย่างเท่าทัน ทั้งในเรื่องของเวลา และองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อนำพานักเรียนไทยให้มีทักษะที่สามารถออกไปสู้โลกแห่งอนาคต” ศาสตราจารย์ ดร. ชูกิจ  ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวปิดท้าย


ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content