
วันที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 9.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ทรงเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์หลังภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในวาระสำคัญนี้ มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองพระเกียรติคุณของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ในวาระเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ ในปี พ.ศ. 2566
โอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “การพัฒนาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษาที่ยั่งยืน ช่วงหลังโควิด 19” โดยทรงกล่าวถึงประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาที่ได้ทรงพบว่าโรคโควิดมีปัญหาต่อการศึกษาเด็กอย่างไร การเรียนการสอนในถิ่นห่างไกล การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งหลายภาคส่วนได้ร่วมกันในการที่จะทำให้การศึกษาดำเนินไปได้รวมถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งคนยุคหลังโควิดทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในชีวิตและการงานแทบทุกด้าน
ทักษะอาชีพยุคโควิด ซึ่งเร่งความต้องการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ ทำให้เห็นความจำเป็นของการเรียนรู้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการ Reskill, Upskill และ เรียนรู้ new skill ที่จำเป็นต่อการทำงานในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับความต้องการใหม่ ๆ
การต่อสู้กับเชื้อโรคที่มองไม่เห็น เป็นบทเรียนให้ต้องระมัดระวังกับการใช้ชีวิตมากขึ้น
อุดมศึกษายุคหลังโควิด ที่ต้องระดมความคิดและปรับตัว ตัวอย่างเช่น จัดการเรียนการสอนที่มิใช่มุ่งสอนแต่ความรู้ แต่สอนให้เรียนรู้รอบด้าน ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ เป็นต้น โดยสิ่งที่ทรงบรรยายล้วนเป็นเรื่องสืบทอดพระปณิธานของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งผู้ที่มีโอกาสจากงานที่ทรงมีพระปณิธานนี้ควรจะช่วยกันให้โอกาสผู้อื่นต่อไป
ในวาระนี้ ทรงฟังการบรรยายจากนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกเกี่ยวกับงานวิจัยที่นำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการออกแบบยาตัวใหม่สำหรับรักษาโรคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้นักการศึกษาชั้นนำยังได้บรรยายเกี่ยวกับความต้องการของกำลังคนด้านสะเต็มที่เพิ่มขึ้นและแนวทางการเตรียมกำลังคนที่ตอบรับสู่โลกของเทคโนโลยีในปัจจุบัน
การประชุมวิชาการนานาชาตินี้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หลังภาวะการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งการเรียนการสอนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค แม้จะมีความพยายามในการหาวิธีการเรียนการสอนทดแทนการเรียนแบบพบหน้า ก็ยังคงเกิดช่องว่างของคุณภาพการเรียนรู้ ด้วยเหตุที่วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นฐานความรู้ในการสร้างคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนอนาคต งานนี้จึงเป็นเวทีสำคัญที่นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้า ร่วมกันพิจารณาปัญหาการศึกษาที่ทั่วโลกต้องเผชิญ เพื่อหาแนวทางต่อยอดพัฒนาคุณภาพการศึกษาภายหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ภายในงานยังมีนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และนิทรรศการ 3 โซนซึ่งแสดงประเด็นหลักของงาน ได้แก่ โซนที่ 1 Talented students ที่กล่าวถึงผลกระทบของการระบาดต่อกลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ และแนวทางการแก้ปัญหาและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มนี้ให้สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ
โซนที่ 2 Inclusive education แนวทางการแก้ปัญหาของความเหลื่อมล้ำที่ส่งผลให้การกระจายตัวของการศึกษาไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดช่องว่างของการเรียนรู้ในสังคม
และโซนที่ 3 Digital transformation กล่าวถึงบทบาทของสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล ที่ช่วยบรรเทาปัญหาการเรียนการสอนระหว่างการระบาดของโรคติดเชื้อและในปัจจุบัน
………………….
Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn presided over the International Conference on Mathematics and Science Education in the Post COVID-19 Era: Global Issues Awareness

On 30 October 2023 at 09.00 hrs., Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn visited to the Queen Sirikit National Convention Center, Khlong Toei, Bangkok to open the International Conference on Mathematics and Science Education in the Post COVID-19 Era: Global Issues Awareness. Organized by the Promotion of Academic Olympiad and Development of Science Education Foundation under the patronage of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana Krom Luang Naradhiwas Rajanagarindra (POSN) in collaboration with the Ministry of Education through the Office of the Permanent Secretary, the Office of the Basic Education Commission (OBEC), and The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), this conference was a celebration on the occasion of UNESCO’s recognition of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana Krom Luang Naradhiwas Rajanagarindra as one of the Eminent Personalities of the World for her contributions to education, science and culture for the 100th anniversary of the birth of Her Royal Highness in 2023.
On this occasion, Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn gave the keynote lecture on the topic “Sustainable Development of Mathematics and Science Education in the Post COVID-19 Era”. Her Royal Highness shared the experience on the impact of COVID-19 on children’s education, education in remote areas and online teaching as many sectors have joined together to make education possible. The importance of information technology was also included in the lecture as everyone in post COVID-19 era needs to learn and utilize technology in every aspect of their life and work.
Career skills in the COVID-19 era, which accelerate the linking of existing information, create the necessity of reskilling, upskilling, and learning new skills that can be apply to work in a rapidly changing situation and in line with new needs.
Fighting invisible germs is a lesson to be more careful with your life.
Higher education in the post COVID era needs brainstorming and adapting as education, for example, is not just about teaching knowledge but about being able to adapt to change. Her Royal Highness’ lecture was about inheriting the wishes of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana Krom Luang Naradhiwas Rajanagarindra to let those who received the opportunity from the Royal duties to continue to give opportunities to others.
In addition, Her Royal Highness attended lectures from world-class scientists about research that uses knowledge of science and computer technology to design new medicines to treat diseases more precisely. The speakers also talked about the growing need of STEM workforce and how to prepare people for today’s technological world.
This conference provided an international platform for exchanging knowledge on science and mathematics education in the post COVID-19 era as education around the world has been affected by the pandemic. Despite efforts to find teaching methods to replace face-to-face learning, gaps in the quality of learning still occurred. As science and mathematics are the knowledge base for building the new generation to drive the future, this conference was therefore an important forum for academics and leading scientists to consider the global education problems and to find ways to further develop the quality of education after the COVID-19 pandemic together.
In this conference, an exhibition in honor of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana Krom Luang Naradhiwas Rajanagarindra was on display, and exhibitions on the three subthemes of the conference were included in three zones:
Zone 1 Talented Students: the impact of the pandemic on talented students in science and mathematics and the ways to solving the problems and promoting their learning to their full potential.
Zone 2 Inclusive Education: the solutions to the problems of inequality, especially during the COVID-19 pandemic, that affect the uneven distribution of education, hinder students from effective learning, and result in a learning gap in the society.
Zone 3 Digital Transformation: the role of digital learning materials that alleviates teaching and learning difficulties during and after the pandemic
ดูรายละเอียดเพิ่มที่เว็บไซต์: https://imsed.ipst.ac.th/