สสวท. เผยเครือข่ายการดูแลนักเรียนทุน พสวท. เป็นต้นแบบของการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษวิทยาศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวในงานการจัดกิจกรรมในโครงการพัฒนาศักยภาพนักเรียนโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) ผ่านกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ “ฟิสิกส์สัประยุทธ์” ประจำปี พ.ศ. 2568 สำหรับเครือข่ายนักเรียนทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) และนักเรียนในโครงการห้องเรียน พสวท. (สู่ความเป็นเลิศ) โดยจัดในวันที่ 9 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2568 ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ตามที่ สสวท. ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ทบวง มหาวิทยาลัย (เดิม) และกระทรวง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (เดิม) ได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการพัฒนาส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ 6 มีนาคม 2527 จากการทำงานร่วมกับเครือข่ายมากกว่า 40 ปี ทำให้เกิดการสร้างระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมการดำเนินงานทั่วประเทศ โดยมี (1) คณะกรรมการกำหนดนโยบาย (2) คณะอนุกรรมการ พสวท. ดูแลและกำกับการทำงานในแต่ละระดับ รวมถึง (3) เครือข่ายโรงเรียนและครูที่ดูแลให้คำปรึกษานักเรียนทุนระดับมัธยมศึกษา (4) เครือข่ายมหาวิทยาลัยที่มีอาจารย์และเจ้าหน้าที่ดูแลให้คำปรึกษานักเรียนทุนระดับอุดมศึกษาในประเทศ  (5) เครือข่ายหน่วยงานดูแลนักเรียนทุนต่างประเทศ (6) เครือข่ายหน่วยงานปฏิบัติงานตอบแทนทุน และ (7) เครือข่ายนักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์ทุน พสวท. ทั่วประเทศ/โลก ที่สนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันได้ต่อเนื่อง

โดยบทบาทของศูนย์โรงเรียน พสวท. มัธยมศึกษา ได้ร่วมกันสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรโปรแกรมเสริม พสวท. สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรระเบียบวิธีวิจัยที่เข้มข้น การสนับสนุนโปรแกรมการเรียนรู้เทียบมาตรฐานสากล เป็นต้น การดูแลนักเรียนด้วยระบบครู ผู้ประสานงาน และคณะอนุกรรมการที่กำกับดูแล รวมไปถึงสนับสนุนให้นักเรียนร่วมกิจกรรมเสริมประสบการณ์ทางวิชาการ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การฝึกงานกับนักวิจัยพี่เลี้ยงในมหาวิทยาลัยการประชุมวิชาการทั้งในและต่างประเทศ ค่ายวิทยาศาสตร์ การทำโครงงานที่เข้มข้น กิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ ฯลฯ ส่วนศูนย์มหาวิทยาลัย มีบทบาทสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรเข้มข้น (Honors Program) หรือหลักสูตรแบบก้าวหน้า มุ่งมั่นให้มีทักษะกระบวนการคิดและเตรียมความพร้อมในการเป็นนักวิจัย เข้าร่วมกิจกรรมเสริมวิชาการต่าง ๆ เช่น กิจกรรมเสริมทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภาษาอังกฤษ โครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ในประเทศ การประชุมวิชาการ  และการนำเสนองานผลงานวิจัย


ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content