ครูเก่งเร่งเสริมทักษะ สสวท. อบรมครูจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ วิทย์ คณิต เทคโนโลยี ประถมศึกษา 5 เรื่องจุใจ หมดเขต 25 สิงหาคมนี้
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร […]
จุดประกายความคิด ห้องเรียนวิทย์ไม่น่าเบื่อ สสวท. ชวนครูอบรมฟรี “การใช้คำถามในห้องเรียนวิทยาศาสตร์”
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทย […]
อบรมออนไลน์ กับ สสวท. “การประเมินระหว่างเรียน (Formative Assessment)” เหมาะสำหรับครูวิทยาศาสตร์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร […]
แนวทางการใช้คลิปประกอบการสอนออนไลน์ ทำได้อย่างไรบ้าง
ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 เชื่อว่าเราทุกคนต้องปรับตัวกันในทุกด้าน ไม่เว้นแม้กระทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสถานการณ์นี้ ทำให้ทุกโรงเรียนได้รับผลกระทบอย่างมากที่ต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจาก On-site มาเป็น Online ผู้สอนซึ่งเป็นกลไกสำคัญก็ต้องปรับตัวกันอย่างหนักเช่นเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ๆ ให้กับผู้เรียน โดยที่ต้องยังคงประสิทธิภาพการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสูงสุดเท่าที่จะทำได้
การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ CER (Claim, Evidence, and Reasoning)
การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะสำคัญที่สะท้อนหรือสื่อถึงความเข้าใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แต่ยังเกิดขึ้นน้อยมากในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นที่การสอนแบบบรรยายหรือการจัดกิจกรรมการทดลอง และไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกการอภิปรายหรือสร้างคำอธิบายของตนเอง ต่อเนื้อหาหรือกิจกรรมที่ตนกำลังศึกษา เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา เนื้อหาและกิจกรรมในวิชาวิทยาศาสตร์แต่ละชั้นปีมีมาก ครูหลายคนอาจไม่เห็นคำสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้งคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ หรือไม่รู้ว่าจะเริ่มฝึกผู้เรียนอย่างไร และหลายคนก็ไม่เชื่อว่าผู้เรียนจะสามารถสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองได้ จึงเห็นได้ว่าหลังการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่ครูจึงเป็นผู้สรุปแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ได้เรียนในแต่ละกิจกรรม
การนำเสนอแนวคิดผ่านผังมโนทัศน์
ผังมโนทัศน์ (Concept Map) เป็นการนำเสนอแนวคิด โดยมีการจัดลำดับแนวคิดและแสดงความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งอาจมีสองแนวคิดหรือมากกว่านั้น ผังมโนทัศน์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน ผังมโนทัศน์ช่วยให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิดขั้นสูง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองหรือสรุปแนวคิดเพื่อแสดงถึงความเข้าใจในเนื้อหาต่าง ๆ ที่ตนเองได้เรียนรู้
ทักษะการพยากรณ์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
เมื่อพูดถึงการพยากรณ์ หลาย ๆ คนอาจนึกถึงภาพหมอดูกำลังทำนายโชคชะตาจากลายมือหรือจากไพ่ แต่รู้หรือไม่ว่าการพยากรณ์ (Predicting) นั้นเป็นหนึ่งในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการตอบคำถามที่สงสัย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา อาจเริ่มฝึกทักษะจากการสังเกต (Observing) ซึ่งเป็นการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทั้งการดู การดม การชิม การฟัง การสัมผัส โดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็น
การประเมินการเรียนรู้ที่ควบคู่กับการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นให้นักเรียน
คุณเคยได้ยินเสียงบ่น หรือเห็นสีหน้ากังวล เบื่อหน่ายของนักเรียนหรือไม่ เมื่อรู้ว่าจะมีการทดสอบหลังจบบทเรียน มันเกิดขึ้นเพราะอะไร เราควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับนักเรียนของเรา
ง่ายๆ กับการนำพืชใกล้ตัวมาสอนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน
ในบทความนี้จะแนะนำตัวอย่างพืชชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งครอบเนื้อหาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยพืชที่แนะนำนี้หลายชนิดพบได้ทั่วไปในโรงเรียนและในชุมชน ไม่จำเป็นต้องซื้อหาเพื่อนำมาใช้ในห้องเรียน ซื่งผู้อ่านอาจจะคิดไม่ถึงเลยว่าพืชที่เคยเห็นในชีวิตประจำวันจะมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างมาก
เกมแอปพลิเคชันกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน
บทความนี้แนะนำให้รู้จักเกมแอปพลิเคชัน EatD และวิธีการใช้งานในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน เป็นการเพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ให้สนุกและตื่นเต้น การนำเกมเข้าสู่ห้องเรียนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบัน
การนำคำถามที่พบจากสังคมออนไลน์ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การนําคําถามที่พบจากสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ที่เห็น ได้ชัดในแง่ของการเชื่อมโยงกับชีวิตจริง โลกของสังคมออนไลน์จะพบกับคําถามต่างๆ ที่น่าสนใจ ผู้สอนควรพิจารณาคําถามนั้นว่าสอดคล้องกับเนื้อหาที่ตนเองกําลังสอนหรือไม่ และถ้าจะนํามาใช้ในห้องเรียน จะนํามาปรับใช้อย่างไรบ้างเพื่อให้ห้องเรียนมีการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง และผู้เรียนเรียนอย่างมีความหมาย
เรื่องการประเมินการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ
เป็นที่ทราบกันมาแล้วว่าการประเมิน (Assessment) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ในขณะการจัดการเรียนรู้ โดยครูจะทำหน้าที่รวบรวม วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลที่แสดงถึง หลักฐานการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศ แล้วจึงนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาใช้ในการประเมิน การเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งผลที่ได้จากการประเมินสามารถนำไปแปลความหมายให้ได้เป็นข้อมูล เชิงปริมาณหรือตัวเลขที่วัดได้และข้อมูลเชิงคุณภาพว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียนนั้นบรรลุตามจุดประสงค์ การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินสามารถนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้แอปพลิเคชัน Seesaw
บทความนี้ขอยกตัวอย่างแอปพลิเคชัน Seesaw ซึ่งใช้เสมือนเป็นแฟ้มรายงานการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid science notebook) เพื่อเก็บภาพ วีดิทัศน์ เอกสาร รายงานการบันทึกผลการทดลอง รายงานผลการสำรวจหรือสังเกตนักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม โดยครูสามารถติดตามงานของนักเรียนแต่ละคนโดยใช้เทคโนโลยีได้ อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่ครูสามารถให้ผลสะท้อนกลับ (Feedback) กับนักเรียนได้ นอกจากเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนแล้ว ยังส่งเสริมการสื่อสารระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกที ทุกเวลา
เราได้อะไรมา และเสียอะไรไป จากการสร้างเขื่อน
การสร้างเขื่อนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ในการสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง จึงมีกลุ่มคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเสมอ ดังเช่นกรณีพิพาทในการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่จังหวัดแพร่ แล้วผู้อ่านมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
การประเมินและการประเมินระหว่างเรียน
ในมุมมองทางการศึกษาเราคงคุ้นเคยกับคำว่า หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมิน ซึ่งทั้งสามองค์ประกอบถือเป็นหลักสำคัญทางการศึกษา ที่มีความสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกันแบบเป็นองค์รวม ไม่แยกส่วนจากกัน ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงต้องมีการวางแผนการประเมินอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายของการเรียนรู้ หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดการเรียนการสอนก็ขาดประสิทธิภาพ
หนังสือเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเสริมศักยภาพวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา
ในยุคสมัยที่การเรียนการสอนเน้นการบูรณาการและพัฒนาทักษะกระบวนการที่สำ คัญเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนสำ หรับการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยทักษะกระบวนการในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตคือ การเรียนรู้แบบ 3R x 7C โดยที่ 3R คือ Reading (อ่านออก),(W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ที่เน้น คิด อ่าน เขียน แก้ปัญหาและลงมือปฏิบัติ
เราคงทราบกันดีแล้วว่าปัญหาการอ่านออก เขียนได้ของเด็กไทยนั้น เกิดขึ้นมานานและเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหานี้ การอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระวิชา สาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาและปฐมวัยได้จัดทำโครงการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิด อ่าน เขียน แก้ปัญหาและลงมือปฏิบัติตั้งแต่ปี พ. ศ. 2554
การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาด้วยกบโอริงามิ
การเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมา รายวิชาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้นักเรียนมองไม่เห็นถึงความเชื่อมโยงในแต่ละรายวิชา และไม่สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักการศึกษาจึงมีความคิดที่จะบูรณาการรายวิชาต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันและเกิดเป็นแนวคิดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา
Visual Thinking คิดเป็นภาพ เข้าใจอย่างเป็นระบบ
ผู้เขียนได้ไปร่วมงานวิชาการที่คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดขึ้น ทำให้ได้เรียนรู้ว่า Visual Thinking ไม่ใช่เพียงการวาดภาพให้คนอื่นเข้าใจเท่านั้น แต่แก่นแท้อยู่ที่กระบวนการคิดอย่างเป็นลำดับ เป็นขั้นตอนมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ จากการหาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า Visual Thinking เป็นวิธีการที่แพร่หลายในการฝึกการจัดระเบียบความคิด และการทำความเข้าใจความคิดของตนเองออกมาเป็นภาพในสมองก่อน แล้วจึงเขียนหรือวาดภาพลงในกระดาษ
สะเต็มศึกษาในบริบทของนานาประเทศ
ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุม APEC PLUS ระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งจัดโดย National Taiwan Normal University ไต้หวัน โดยมีผู้แทนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษาจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาสะเต็มศึกษาของประเทศตนเอง นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษของผู้เชี่ยวชาญ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอประสบการณ์ที่ได้รับมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ในประเด็นของบริบทการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในนานาประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายและจุดเน้นที่แตกต่างกัน
กิจกรรมเรือดำน้ำหาสมบัติ
การเรียนวิทยาศาสตร์จากการอ่านหนังสือหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ค้นหาได้ แล้วท่องจำความรู้นั้น เมื่อเวลาผ่านไปความรู้เหล่านั้นจะอยู่ไม่คงทน และจะหายไปพร้อมกับเวลา แต่การเรียนรู้โดยผ่านการลงมือปฏิบัติ ได้พบเห็นสิ่งที่เป็นประจักษ์พยาน ทำให้ได้ทั้งความรู้ ทักษะและกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการทำงานร่วมกัน หรืออื่น ๆ ที่มากกว่าความรู้ เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้ที่ได้จากหลักฐานเชิงประจักษ์จะคงอยู่นานกว่าการท่องจำ ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมเรือดำน้ำหาสมบัติ จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ทางวิทยาศาตร์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ ผ่านการแข่งขันที่สนุกสนาน รวมทั้งได้ฝึกทักษะต่าง ๆ กับเพื่อน
ฟ้าทะลายโจร โควิด-19
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่ระบาดรุนแรงและคร่าชีวิตผู้คนทั่วโรคไปแล้วกว่า 4 ล้านคน (ข้อมูลจาก COVID-19 Dashboard by the Center for Systems Science and Engineering, CSSE วันที่ 18 กรกฎาคม 2564) นอกจากเกิดผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพของผู้คนแล้ว ยังสร้างความเสียหายอย่างมากกับระบบเศรษฐกิจทั่วโลก หลายประเทศจึงพยายามหาทางออกโดยการทุ่มงบประมาณไปกับการพัฒนาและจัดซื้อวัคซีน
การเลือกใช้สื่อดิจิทัลกับการจัดการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ในชั้นเรียนในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบข้อความ เช่น ใบความรู้ รูปแบบเสียง เช่น เทป รูปแบบวีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งสื่อดิจิทัลก็คือสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ที่ทำให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผ่านอินเทอร์เน็ต ประหยัดเวลาและงบประมาณในการเตรียมสื่อการเรียนการสอนในปัจจุบัน สื่อดิจิทัลก็มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ พ็อดคาสท์ บล็อก วีดิทัศน์ เกม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอล รวมถึงแอปพลิเคชัน
แบบจำลองสมบัติของของเหลว อุปกรณ์ชิ้นเดียวใช้สอนได้หลายแนวคิด
สสารที่อยู่รอบตัวเรามีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว แก๊ส ซึ่งมีสมบัติและนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน การเรียนรู้เรื่องสถานะของสสารจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นหัวข้อหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
การสืบเสาะหาความรู้เรื่อง แบบจำลองการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ได้กำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบกับแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่ส่งเสริม ให้มีการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความรู้กับทักษะกระบวนการโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาผ่านการฝึกให้ผู้เรียนได้สังเกต สำรวจตรวจสอบ ทดลอง ตั้งคำถาม ระบุปัญหาวางแผนการแก้ปัญหาและสรปุความรู้จากการลงมือปฏิบัติแล้วนำผลที่ได้มาจัดระบบเป็นหลักการ แนวคิด และองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด
ดร. อรนิษฐ์ โชคชัย
ผู้ชำนาญ
ดร. วันชัย น้อยวงค์
นักวิชาการ
รตพร หลิน
นักวิชาการ
ฉัฐวีณ์ โมรา
เจ้าหน้าที่
ดร. ศานิกานต์ เสนีวงศ์
นักวิชาการอาวุโส
ดร. ณัฐธิดา พรหมยอด
นักวิชาการอาวุโส
จีรนันท์ เพชรแก้ว
นักวิชาการ
ดร. พจนา ดอกตาลยงค์
นักวิชาการอาวุโส
ดร. เสาวลักษณ์ บัวอิน
นักวิชาการ
กมลลักษณ์ ถนัดกิจ
นักวิชาการ
ดร. เบ็ญจวรรณ หาญพิพัฒน์
นักวิชาการอาวุโส
สุณิสา สมสมัย
นักวิชาการ
รัชดากรณ์ สุนาวี
เจ้าหน้าที่อาวุโส