
ซินเจียยู่อี ซินนี้ฮวดไช้ วันตรุษจีน เมื่อไหร่ สีแดง ต้องมา….
‘สีแดง’ เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคลในความเชื่อของชาวจีน และเป็นหนึ่งในสามของแสงสีปฐมภูมิ (RGB: สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน) ทางวิทยาศาสตร์
การผสมแสงสีของ RGB (แดง-เขียน-น้ำเงิน) ทำให้เกิดสีอื่นอีกมากมาย ซึ่งการพูดถึงสีต่าง ๆ ในทางคอมพิวเตอร์จะใช้ ‘รหัสสี’ แทนการเรียกชื่อสีผ่านเครื่องหมาย # และตามเลขฐานสิบหก จำนวน 6 หลัก เช่น #FFEEDD โดยตำแหน่ง FF แทนด้วยรหัสของสีแดง ตำแหน่ง EE แทนด้วยรหัสของสีเขียว และตำแหน่ง DD แทนด้วยรหัสของสีน้ำเงิน
แล้วสีที่เราสามารถเลือกใช้ได้มีกี่สีกันล่ะ
เพราะเลขฐานสิบหก ประกอบด้วย 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F แต่ละหลักของรหัสสีจึงมีค่าที่เป็นไปได้ถึง 16 ค่า ดังนั้นจำนวนสีที่เป็นไปได้ทั้งหมดคือ 16 ยกกำลัง 6 หรือเท่ากับ 16.7 ล้านสี นั่นเอง
พลังของสี
ค่าของรหัสสีจะส่งกำลังให้แต่ละสีโดดเด่นต่างกัน เช่น วันตรุษจีน ‘สีแดง’ แสดงว่ารหัสสีของ R จะต้องมีค่ามาก รหัสสี G และ B มีค่าน้อย ดังนั้นรหัสสีที่ได้จะเป็น #FF0000 หรือถ้าอยากผสมสีให้ได้สีเหลืองเต็มพลัง เราก็สามารถผสมสีตามหลักของการผสมแสงสีได้เลย โดยการผสมสีแดงกับสีเขียวเข้าด้วยกันจะได้เป็น #FFFF00 ไม่ยากเลยใช่มั๊ยล่ะ
ตรุษจีนนี้ ชีวิตแอดคงไม่ขาดสีสันอย่างแน่นอน ถ้าซิสจะช่วยผสมสีมาฝากกันบ้าง หรือจะลองใช้เครื่องมือผสมสีที่นี่ดูก็ได้ htmlcolorcodes.com
ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฟิสิกส์ ชั้น ม.5 เล่ม 3 บทที่ 11 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
ดูเพิ่มได้ที่ : https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/4790890854280598