สาระน่ารู้ : ปริซึม
FacebookFacebookXTwitterLINELi […]
แนวทางการใช้คลิปประกอบการสอนออนไลน์ ทำได้อย่างไรบ้าง
ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 เชื่อว่าเราทุกคนต้องปรับตัวกันในทุกด้าน ไม่เว้นแม้กระทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสถานการณ์นี้ ทำให้ทุกโรงเรียนได้รับผลกระทบอย่างมากที่ต้องปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจาก On-site มาเป็น Online ผู้สอนซึ่งเป็นกลไกสำคัญก็ต้องปรับตัวกันอย่างหนักเช่นเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ๆ ให้กับผู้เรียน โดยที่ต้องยังคงประสิทธิภาพการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสูงสุดเท่าที่จะทำได้
การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ CER (Claim, Evidence, and Reasoning)
การสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะสำคัญที่สะท้อนหรือสื่อถึงความเข้าใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แต่ยังเกิดขึ้นน้อยมากในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นที่การสอนแบบบรรยายหรือการจัดกิจกรรมการทดลอง และไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกการอภิปรายหรือสร้างคำอธิบายของตนเอง ต่อเนื้อหาหรือกิจกรรมที่ตนกำลังศึกษา เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเวลา เนื้อหาและกิจกรรมในวิชาวิทยาศาสตร์แต่ละชั้นปีมีมาก ครูหลายคนอาจไม่เห็นคำสำคัญในการกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้งคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ หรือไม่รู้ว่าจะเริ่มฝึกผู้เรียนอย่างไร และหลายคนก็ไม่เชื่อว่าผู้เรียนจะสามารถสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองได้ จึงเห็นได้ว่าหลังการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง ส่วนใหญ่ครูจึงเป็นผู้สรุปแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ได้เรียนในแต่ละกิจกรรม
การนำเสนอแนวคิดผ่านผังมโนทัศน์
ผังมโนทัศน์ (Concept Map) เป็นการนำเสนอแนวคิด โดยมีการจัดลำดับแนวคิดและแสดงความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งอาจมีสองแนวคิดหรือมากกว่านั้น ผังมโนทัศน์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน ผังมโนทัศน์ช่วยให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิดขั้นสูง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองหรือสรุปแนวคิดเพื่อแสดงถึงความเข้าใจในเนื้อหาต่าง ๆ ที่ตนเองได้เรียนรู้
ทักษะการพยากรณ์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
เมื่อพูดถึงการพยากรณ์ หลาย ๆ คนอาจนึกถึงภาพหมอดูกำลังทำนายโชคชะตาจากลายมือหรือจากไพ่ แต่รู้หรือไม่ว่าการพยากรณ์ (Predicting) นั้นเป็นหนึ่งในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการตอบคำถามที่สงสัย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา อาจเริ่มฝึกทักษะจากการสังเกต (Observing) ซึ่งเป็นการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ทั้งการดู การดม การชิม การฟัง การสัมผัส โดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็น
การประเมินการเรียนรู้ที่ควบคู่กับการส่งเสริมทักษะที่จำเป็นให้นักเรียน
คุณเคยได้ยินเสียงบ่น หรือเห็นสีหน้ากังวล เบื่อหน่ายของนักเรียนหรือไม่ เมื่อรู้ว่าจะมีการทดสอบหลังจบบทเรียน มันเกิดขึ้นเพราะอะไร เราควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับนักเรียนของเรา
ง่ายๆ กับการนำพืชใกล้ตัวมาสอนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน
ในบทความนี้จะแนะนำตัวอย่างพืชชนิดต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในการทำกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งครอบเนื้อหาทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยพืชที่แนะนำนี้หลายชนิดพบได้ทั่วไปในโรงเรียนและในชุมชน ไม่จำเป็นต้องซื้อหาเพื่อนำมาใช้ในห้องเรียน ซื่งผู้อ่านอาจจะคิดไม่ถึงเลยว่าพืชที่เคยเห็นในชีวิตประจำวันจะมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างมาก
เกมแอปพลิเคชันกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในห้องเรียน
บทความนี้แนะนำให้รู้จักเกมแอปพลิเคชัน EatD และวิธีการใช้งานในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ เพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียน เป็นการเพิ่มบรรยากาศการเรียนรู้ให้สนุกและตื่นเต้น การนำเกมเข้าสู่ห้องเรียนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบัน
การนำคำถามที่พบจากสังคมออนไลน์ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
การนําคําถามที่พบจากสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ที่เห็น ได้ชัดในแง่ของการเชื่อมโยงกับชีวิตจริง โลกของสังคมออนไลน์จะพบกับคําถามต่างๆ ที่น่าสนใจ ผู้สอนควรพิจารณาคําถามนั้นว่าสอดคล้องกับเนื้อหาที่ตนเองกําลังสอนหรือไม่ และถ้าจะนํามาใช้ในห้องเรียน จะนํามาปรับใช้อย่างไรบ้างเพื่อให้ห้องเรียนมีการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง และผู้เรียนเรียนอย่างมีความหมาย
เรื่องการประเมินการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ
เป็นที่ทราบกันมาแล้วว่าการประเมิน (Assessment) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ในขณะการจัดการเรียนรู้ โดยครูจะทำหน้าที่รวบรวม วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลที่แสดงถึง หลักฐานการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศ แล้วจึงนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาใช้ในการประเมิน การเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งผลที่ได้จากการประเมินสามารถนำไปแปลความหมายให้ได้เป็นข้อมูล เชิงปริมาณหรือตัวเลขที่วัดได้และข้อมูลเชิงคุณภาพว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียนนั้นบรรลุตามจุดประสงค์ การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินสามารถนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ