สาระน่ารู้ – บทความ


การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้แอปพลิเคชัน Seesaw

บทความนี้ขอยกตัวอย่างแอปพลิเคชัน Seesaw ซึ่งใช้เสมือนเป็นแฟ้มรายงานการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid science notebook) เพื่อเก็บภาพ วีดิทัศน์ เอกสาร รายงานการบันทึกผลการทดลอง รายงานผลการสำรวจหรือสังเกตนักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม โดยครูสามารถติดตามงานของนักเรียนแต่ละคนโดยใช้เทคโนโลยีได้ อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่ครูสามารถให้ผลสะท้อนกลับ (Feedback) กับนักเรียนได้ นอกจากเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนแล้ว ยังส่งเสริมการสื่อสารระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกที ทุกเวลา

เราได้อะไรมา และเสียอะไรไป จากการสร้างเขื่อน

การสร้างเขื่อนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ในการสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง จึงมีกลุ่มคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเสมอ ดังเช่นกรณีพิพาทในการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่จังหวัดแพร่ แล้วผู้อ่านมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร

การประเมินและการประเมินระหว่างเรียน

ในมุมมองทางการศึกษาเราคงคุ้นเคยกับคำว่า หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมิน ซึ่งทั้งสามองค์ประกอบถือเป็นหลักสำคัญทางการศึกษา ที่มีความสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกันแบบเป็นองค์รวม ไม่แยกส่วนจากกัน ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงต้องมีการวางแผนการประเมินอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายของการเรียนรู้ หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดการเรียนการสอนก็ขาดประสิทธิภาพ

หนังสือเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเสริมศักยภาพวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา

ในยุคสมัยที่การเรียนการสอนเน้นการบูรณาการและพัฒนาทักษะกระบวนการที่สำ คัญเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนสำ หรับการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยทักษะกระบวนการในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตคือ การเรียนรู้แบบ 3R x 7C โดยที่ 3R คือ Reading (อ่านออก),(W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)

หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ที่เน้น คิด อ่าน เขียน แก้ปัญหาและลงมือปฏิบัติ

เราคงทราบกันดีแล้วว่าปัญหาการอ่านออก เขียนได้ของเด็กไทยนั้น เกิดขึ้นมานานและเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหานี้ การอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระวิชา สาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาและปฐมวัยได้จัดทำโครงการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิด อ่าน เขียน แก้ปัญหาและลงมือปฏิบัติตั้งแต่ปี พ. ศ. 2554

การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาด้วยกบโอริงามิ

การเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมา รายวิชาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้นักเรียนมองไม่เห็นถึงความเชื่อมโยงในแต่ละรายวิชา และไม่สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักการศึกษาจึงมีความคิดที่จะบูรณาการรายวิชาต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันและเกิดเป็นแนวคิดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา

Visual Thinking คิดเป็นภาพ เข้าใจอย่างเป็นระบบ

ผู้เขียนได้ไปร่วมงานวิชาการที่คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดขึ้น ทำให้ได้เรียนรู้ว่า Visual Thinking ไม่ใช่เพียงการวาดภาพให้คนอื่นเข้าใจเท่านั้น แต่แก่นแท้อยู่ที่กระบวนการคิดอย่างเป็นลำดับ เป็นขั้นตอนมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ จากการหาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า Visual Thinking เป็นวิธีการที่แพร่หลายในการฝึกการจัดระเบียบความคิด และการทำความเข้าใจความคิดของตนเองออกมาเป็นภาพในสมองก่อน แล้วจึงเขียนหรือวาดภาพลงในกระดาษ

สะเต็มศึกษาในบริบทของนานาประเทศ

ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุม APEC PLUS ระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งจัดโดย National Taiwan Normal University ไต้หวัน โดยมีผู้แทนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษาจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาสะเต็มศึกษาของประเทศตนเอง นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษของผู้เชี่ยวชาญ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอประสบการณ์ที่ได้รับมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ในประเด็นของบริบทการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในนานาประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายและจุดเน้นที่แตกต่างกัน

กิจกรรมเรือดำน้ำหาสมบัติ

การเรียนวิทยาศาสตร์จากการอ่านหนังสือหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ค้นหาได้ แล้วท่องจำความรู้นั้น เมื่อเวลาผ่านไปความรู้เหล่านั้นจะอยู่ไม่คงทน และจะหายไปพร้อมกับเวลา แต่การเรียนรู้โดยผ่านการลงมือปฏิบัติ ได้พบเห็นสิ่งที่เป็นประจักษ์พยาน ทำให้ได้ทั้งความรู้ ทักษะและกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการทำงานร่วมกัน หรืออื่น ๆ ที่มากกว่าความรู้ เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้ที่ได้จากหลักฐานเชิงประจักษ์จะคงอยู่นานกว่าการท่องจำ ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมเรือดำน้ำหาสมบัติ จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ทางวิทยาศาตร์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ ผ่านการแข่งขันที่สนุกสนาน รวมทั้งได้ฝึกทักษะต่าง ๆ กับเพื่อน


ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content