สาระน่ารู้ – บทความ


ฟ้าทะลายโจร โควิด-19

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่ระบาดรุนแรงและคร่าชีวิตผู้คนทั่วโรคไปแล้วกว่า 4 ล้านคน (ข้อมูลจาก COVID-19 Dashboard by the Center for Systems Science and Engineering, CSSE วันที่ 18 กรกฎาคม 2564) นอกจากเกิดผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพของผู้คนแล้ว ยังสร้างความเสียหายอย่างมากกับระบบเศรษฐกิจทั่วโลก หลายประเทศจึงพยายามหาทางออกโดยการทุ่มงบประมาณไปกับการพัฒนาและจัดซื้อวัคซีน

การเลือกใช้สื่อดิจิทัลกับการจัดการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ในชั้นเรียนในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบข้อความ เช่น ใบความรู้ รูปแบบเสียง เช่น เทป รูปแบบวีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งสื่อดิจิทัลก็คือสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ที่ทำให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผ่านอินเทอร์เน็ต ประหยัดเวลาและงบประมาณในการเตรียมสื่อการเรียนการสอนในปัจจุบัน สื่อดิจิทัลก็มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ พ็อดคาสท์ บล็อก วีดิทัศน์ เกม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอล รวมถึงแอปพลิเคชัน

แบบจำลองสมบัติของของเหลว อุปกรณ์ชิ้นเดียวใช้สอนได้หลายแนวคิด

สสารที่อยู่รอบตัวเรามีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว แก๊ส ซึ่งมีสมบัติและนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน การเรียนรู้เรื่องสถานะของสสารจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นหัวข้อหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

การสืบเสาะหาความรู้เรื่อง แบบจำลองการเกิดปฏิกิริยาเคมี

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ได้กำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบกับแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่ส่งเสริม ให้มีการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความรู้กับทักษะกระบวนการโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาผ่านการฝึกให้ผู้เรียนได้สังเกต สำรวจตรวจสอบ ทดลอง ตั้งคำถาม ระบุปัญหาวางแผนการแก้ปัญหาและสรปุความรู้จากการลงมือปฏิบัติแล้วนำผลที่ได้มาจัดระบบเป็นหลักการ แนวคิด และองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด

ประยุกต์แนวทางการแก้ปัญหาของโพลยาเพื่อพัฒนาการเขียนทางคณิตศาสตร์

การเขียนทางคณิตศาสตร์ (Writing in Mathematics) มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างไรกับการศึกษาคณิตศาสตร์ในทุกระดับ เหตุใดนักคณิตศาสตร์ศึกษาทั่วโลกจึงส่งเสริม และสนับสนุนให้ห้องเรียนคณิตศาสตร์ตระหนักและให้ความสำคัญกับที่มาของคำตอบเหล่านั้น และปฏิเสธที่จะยอมรับการจัดการเรียนการรู้คณิตศาสตร์ที่มุ่งเน้นที่ตัวคำตอบเพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างการสอนตัวประกอบและการแยกตัวประกอบในระดับประถมศึกษา

ตัวประกอบและการแยกตัวประกอบเป็นความรู้พื้นฐานสำคัญสำหรับนักเรียนที่จะต้องนำไปใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์ทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูง ซึ่งการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ผู้สอนจะนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียนำได้บ้าง

การวิเคราะห์และแก้โจทย์ปัญหาร้อยละด้วยผังงาน

การเรียนเรื่องร้อยละในระดับประถมศึกษานักเรียนจะต้องแสดงวิธีหาคําตอบ ของโจทย์ปัญหาร้อยละได้ 2 – 3 ขั้นตอน การแสดงวิธีหาคําตอบของโจทย์ปัญหา ก็เป็นการแสดงแนวคิด วิธีการ หรือขั้นตอนของการหาคําตอบของโจทย์ปัญหา ซึ่งนักเรียน อาจจะใช้การวาดภาพประกอบ เขียนเป็นข้อความด้วยภาษาง่ายๆ หรืออาจเขียนแสดงวิธีทําอย่างเป็น ขั้นตอน

การเปรียบเทียบเศษส่วนในระดับประถมศึกษา

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้บรรจุเนื้อหาเศษส่วนไว้ในรายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยเริ่มที่ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับนานาชาติ สำหรับเนื้อหาเศษส่วนได้มีการปรับเปลี่ยนโดยให้เริ่มเรียนการเปรียบเทียบเศษส่วนตั้งแต่ระดับ ประถมศึกษาปีที่ 3

ส่วนกลับของเศษส่วน

บทความนี้อธิบายและชี้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ “ส่วนกลับของเศษส่วน” ซึ่งเป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ของ สสวท.

การประเมินการปฏิบัติกับการออกแบบกิจกรรม Performance Task

ในปัจจุบัน แนวโน้มของการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การวัดระดับผลสัมฤทธิ์ในด้านความรู้ของผู้เรียนเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาสมรรถนะหรือความสามารถของผู้เรียนมากขึ้น หลายท่านคงสงสัยว่าจะวัดและประเมินสมรรถนะของผู้เรียนได้อย่างไร การวัดและประเมินสมรรถนะของผู้เรียนทำได้หลายวิธี บทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการประเมินการปฏิบัติ โดยใช้งานหรือกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติ แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ก่อนที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมดังกล่าว จะขอเริ่มจากการทำความเข้าใจก่อนว่าการประเมินการปฏิบัติเป็นอย่างไร

1 3 4 5 10

ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content