การเลือกใช้สื่อดิจิทัลกับการจัดการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ในชั้นเรียนในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบข้อความ เช่น ใบความรู้ รูปแบบเสียง เช่น เทป รูปแบบวีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งสื่อดิจิทัลก็คือสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ที่ทำให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผ่านอินเทอร์เน็ต ประหยัดเวลาและงบประมาณในการเตรียมสื่อการเรียนการสอนในปัจจุบัน สื่อดิจิทัลก็มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ พ็อดคาสท์ บล็อก วีดิทัศน์ เกม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอล รวมถึงแอปพลิเคชัน
Facebook กับการอบรมครู
ในบทความนี้ผู้เขียนได้แนะนำการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ของ Facebook เพื่อประยุกต์ใช้ในการอบรมครู
เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ในปัจจุบัน ควาวก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของคนทั่วโลก เช่น การซื้อขายสินค้า การชำระค่าบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การจัดการที่จอดรถยนต์ การให้หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้เทคโนโลยียังเข้ามามีบทบาทต่อแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นความสนใจ สร้างความสนุกสนานในการเรียนรู้ วัดและประเมินผลผู้เรียน เสริมการเรียนรู้ เช่น การใช้สื่อวิทยาศาสตร์ในรูปแบบ AR (Augmented Reality) แอนิเมชัน วีดิทัศน์ เทคโนโลยีเหล่านี้มีทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียง การสร้างสถานการณ์เสมือนจริง และยังสามารถใช้ช่วยสรุปความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ ได้อีกด้วย
เกมเพื่อการเรียนรู้คืออะไร
เกมเพื่อการเรียนรู้ (Game Based Learning) เป็นสื่อการเรียนรู้แบบหนึ่ง ที่ผู็เรียนจะได้รับความรู้ผ่านการเล่นเกม ซึ่งมักออกแบบโดยจำลองมาจากสถานการณ์จริงเพื่อให้ผู้เรียนทดลองแก้ปัญหา ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ เกิดจินตนาการ และเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น เพื่อให้เห็นตัวอย่างเกมเพื่อการเรียนรู้ที่ชัดเจน ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างเกม Food Web ที่ผู้เขียนได้ออกแบบและพัฒนา เพื่อใช้สร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์อันซักซ้อนของสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหาร
ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับทฤษฎี “การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)”
ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่พบได้บ่อยในผู้สอน และนักการศึกษาเกี่ยวกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองคือ 1. การสอนแบบบรรยาย เป็นการสอนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะผู้เรียนไม่ได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และ 2. การที่ผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้ ต้องให้ผู้เรียนทำปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ และให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ค้นพบด้วยตนเอง ความเข้าใจคลาดเคลื่อนทั้ง 2 ข้อนี้ เป็นความสับสนระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองของผู้เรียนกับกระบวนการจัดการเรียนรู้
จำกัดการเดินทาง… แต่ไม่จำกัดการเรียนการสอน: แนวทางการจัดการเรียนการสอนผ่านแอปพลิเคชัน LINE
ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 รัฐบาลมีมาตรการประกาศปิดสถานศึกษา เพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การเรียนแบบปกติที่มีผู้สอนและผู้เรียนเห็นหน้ากัน (Face-to-Face) เปลี่ยนเป็นการเรียนการสอนออนไลน์มากขึ้น โดยทั้งผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องอยู่ในห้องเรียนเดียวกัน อาจจะเห็นหน้ากันหรือไม่เห็นหน้ากันก็ได้ ในบทความนี้ผู้เขียนได้แนะนำการใช้แอปพิเคชัน LINE มาช่วยจัดการเรียนการสอนออนไลน์
เรียนรู้จากครูอเมริกัน: ตอนที่ 2 ครูวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนปลาย
เราลองอ่านแนวคิดการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในอเมริกา
เรียนรู้จากครูอเมริกัน: ตอนที่ 1 ครูวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น
ในประเทศที่เรียกตัวเองว่าดินแดนแห่งเสรีภาพ ที่ทุกคนมีอิสระในการใช้ชีวิตและแสดงความคิด เรามักพบนวัตกรรม และแนวคิดใหม่ ๆ เช่น จากประเทศสหรัฐอเมริกา การได้ชื่อว่าเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกมีที่มาจาก การมีประชากรคุณภาพ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศนี้จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ และเรียนการสอนในระดับโรงเรียนของประเทศนี้จึงเป็นเรื่องน่าเรียนรู้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับโครงการในพระราชดำริ สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชน […]
การออกแบบเพื่อมวลชน (Universal Design)
หลักการออกแบบเพื่อมวลชน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับโลกยุคปัจจุบันและอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไมได้ โดยใช้เป็นแนวคิดในการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้สอยของทุกคน กล่าวคือ บุคคลต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ ก็ยังสามารถใช้สิ่งเหล่านี้ร่วมกันได้ ซึ่งหลักการดังกล่าว นอกจากจะนำมาใช้เป็นพื้นฐานการออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับสังคมไทยแล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมสร้างสรรค์ได้อีกด้วย