สาระน่ารู้


การนำคำถามที่พบจากสังคมออนไลน์ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

การนําคําถามที่พบจากสื่อสังคมออนไลน์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ที่เห็น ได้ชัดในแง่ของการเชื่อมโยงกับชีวิตจริง โลกของสังคมออนไลน์จะพบกับคําถามต่างๆ ที่น่าสนใจ ผู้สอนควรพิจารณาคําถามนั้นว่าสอดคล้องกับเนื้อหาที่ตนเองกําลังสอนหรือไม่ และถ้าจะนํามาใช้ในห้องเรียน จะนํามาปรับใช้อย่างไรบ้างเพื่อให้ห้องเรียนมีการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง และผู้เรียนเรียนอย่างมีความหมาย

เรื่องการประเมินการเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ

เป็นที่ทราบกันมาแล้วว่าการประเมิน (Assessment) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้น ในขณะการจัดการเรียนรู้ โดยครูจะทำหน้าที่รวบรวม วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลที่แสดงถึง หลักฐานการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศ แล้วจึงนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาใช้ในการประเมิน การเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งผลที่ได้จากการประเมินสามารถนำไปแปลความหมายให้ได้เป็นข้อมูล เชิงปริมาณหรือตัวเลขที่วัดได้และข้อมูลเชิงคุณภาพว่าผลการเรียนรู้ของนักเรียนนั้นบรรลุตามจุดประสงค์ การเรียนรู้ที่กำหนดไว้หรือไม่ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินสามารถนำไปสู่การปรับปรุง แก้ไข และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ

การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้แอปพลิเคชัน Seesaw

บทความนี้ขอยกตัวอย่างแอปพลิเคชัน Seesaw ซึ่งใช้เสมือนเป็นแฟ้มรายงานการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid science notebook) เพื่อเก็บภาพ วีดิทัศน์ เอกสาร รายงานการบันทึกผลการทดลอง รายงานผลการสำรวจหรือสังเกตนักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม โดยครูสามารถติดตามงานของนักเรียนแต่ละคนโดยใช้เทคโนโลยีได้ อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่ครูสามารถให้ผลสะท้อนกลับ (Feedback) กับนักเรียนได้ นอกจากเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างครูและนักเรียนแล้ว ยังส่งเสริมการสื่อสารระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกที ทุกเวลา

เราได้อะไรมา และเสียอะไรไป จากการสร้างเขื่อน

การสร้างเขื่อนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ในการสร้างเขื่อนแต่ละครั้ง จึงมีกลุ่มคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเสมอ ดังเช่นกรณีพิพาทในการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่จังหวัดแพร่ แล้วผู้อ่านมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร

การประเมินและการประเมินระหว่างเรียน

ในมุมมองทางการศึกษาเราคงคุ้นเคยกับคำว่า หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการประเมิน ซึ่งทั้งสามองค์ประกอบถือเป็นหลักสำคัญทางการศึกษา ที่มีความสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกันแบบเป็นองค์รวม ไม่แยกส่วนจากกัน ดังนั้น การจัดการเรียนรู้จึงต้องมีการวางแผนการประเมินอย่างสอดคล้องกับเป้าหมายของการเรียนรู้ หากขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดการเรียนการสอนก็ขาดประสิทธิภาพ

หนังสือเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อเสริมศักยภาพวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา

ในยุคสมัยที่การเรียนการสอนเน้นการบูรณาการและพัฒนาทักษะกระบวนการที่สำ คัญเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนสำ หรับการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 โดยทักษะกระบวนการในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตคือ การเรียนรู้แบบ 3R x 7C โดยที่ 3R คือ Reading (อ่านออก),(W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)

หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ที่เน้น คิด อ่าน เขียน แก้ปัญหาและลงมือปฏิบัติ

เราคงทราบกันดีแล้วว่าปัญหาการอ่านออก เขียนได้ของเด็กไทยนั้น เกิดขึ้นมานานและเป็นปัญหาระดับชาติที่ทุกหน่วยงานต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหานี้ การอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ของเด็กส่งผลต่อการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระวิชา สาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาและปฐมวัยได้จัดทำโครงการพัฒนาหนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เน้นการคิด อ่าน เขียน แก้ปัญหาและลงมือปฏิบัติตั้งแต่ปี พ. ศ. 2554

1 13 14 15 29

ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content