สาระน่ารู้


การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาด้วยกบโอริงามิ

การเรียนการสอนในอดีตที่ผ่านมา รายวิชาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีจะแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ทำให้นักเรียนมองไม่เห็นถึงความเชื่อมโยงในแต่ละรายวิชา และไม่สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักการศึกษาจึงมีความคิดที่จะบูรณาการรายวิชาต่าง ๆ เหล่านี้เข้าด้วยกันและเกิดเป็นแนวคิดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา

Visual Thinking คิดเป็นภาพ เข้าใจอย่างเป็นระบบ

ผู้เขียนได้ไปร่วมงานวิชาการที่คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดขึ้น ทำให้ได้เรียนรู้ว่า Visual Thinking ไม่ใช่เพียงการวาดภาพให้คนอื่นเข้าใจเท่านั้น แต่แก่นแท้อยู่ที่กระบวนการคิดอย่างเป็นลำดับ เป็นขั้นตอนมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ จากการหาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่า Visual Thinking เป็นวิธีการที่แพร่หลายในการฝึกการจัดระเบียบความคิด และการทำความเข้าใจความคิดของตนเองออกมาเป็นภาพในสมองก่อน แล้วจึงเขียนหรือวาดภาพลงในกระดาษ

สะเต็มศึกษาในบริบทของนานาประเทศ

ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุม APEC PLUS ระหว่างวันที่ 21-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งจัดโดย National Taiwan Normal University ไต้หวัน โดยมีผู้แทนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษาจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาสะเต็มศึกษาของประเทศตนเอง นอกจากนี้ยังมีการบรรยายพิเศษของผู้เชี่ยวชาญ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอประสบการณ์ที่ได้รับมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยน ในประเด็นของบริบทการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาในนานาประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายและจุดเน้นที่แตกต่างกัน

กิจกรรมเรือดำน้ำหาสมบัติ

การเรียนวิทยาศาสตร์จากการอ่านหนังสือหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ค้นหาได้ แล้วท่องจำความรู้นั้น เมื่อเวลาผ่านไปความรู้เหล่านั้นจะอยู่ไม่คงทน และจะหายไปพร้อมกับเวลา แต่การเรียนรู้โดยผ่านการลงมือปฏิบัติ ได้พบเห็นสิ่งที่เป็นประจักษ์พยาน ทำให้ได้ทั้งความรู้ ทักษะและกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการทำงานร่วมกัน หรืออื่น ๆ ที่มากกว่าความรู้ เมื่อเวลาผ่านไป ความรู้ที่ได้จากหลักฐานเชิงประจักษ์จะคงอยู่นานกว่าการท่องจำ ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมเรือดำน้ำหาสมบัติ จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ทางวิทยาศาตร์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ ผ่านการแข่งขันที่สนุกสนาน รวมทั้งได้ฝึกทักษะต่าง ๆ กับเพื่อน

ฟ้าทะลายโจร โควิด-19

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่ระบาดรุนแรงและคร่าชีวิตผู้คนทั่วโรคไปแล้วกว่า 4 ล้านคน (ข้อมูลจาก COVID-19 Dashboard by the Center for Systems Science and Engineering, CSSE วันที่ 18 กรกฎาคม 2564) นอกจากเกิดผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพของผู้คนแล้ว ยังสร้างความเสียหายอย่างมากกับระบบเศรษฐกิจทั่วโลก หลายประเทศจึงพยายามหาทางออกโดยการทุ่มงบประมาณไปกับการพัฒนาและจัดซื้อวัคซีน

การเลือกใช้สื่อดิจิทัลกับการจัดการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ในชั้นเรียนในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบข้อความ เช่น ใบความรู้ รูปแบบเสียง เช่น เทป รูปแบบวีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งสื่อดิจิทัลก็คือสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ที่ทำให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผ่านอินเทอร์เน็ต ประหยัดเวลาและงบประมาณในการเตรียมสื่อการเรียนการสอนในปัจจุบัน สื่อดิจิทัลก็มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ พ็อดคาสท์ บล็อก วีดิทัศน์ เกม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอล รวมถึงแอปพลิเคชัน

แบบจำลองสมบัติของของเหลว อุปกรณ์ชิ้นเดียวใช้สอนได้หลายแนวคิด

สสารที่อยู่รอบตัวเรามีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว แก๊ส ซึ่งมีสมบัติและนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน การเรียนรู้เรื่องสถานะของสสารจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นหัวข้อหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

การสืบเสาะหาความรู้เรื่อง แบบจำลองการเกิดปฏิกิริยาเคมี

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ได้กำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายของการจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ประกอบกับแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่ส่งเสริม ให้มีการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความรู้กับทักษะกระบวนการโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาผ่านการฝึกให้ผู้เรียนได้สังเกต สำรวจตรวจสอบ ทดลอง ตั้งคำถาม ระบุปัญหาวางแผนการแก้ปัญหาและสรปุความรู้จากการลงมือปฏิบัติแล้วนำผลที่ได้มาจัดระบบเป็นหลักการ แนวคิด และองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองให้มากที่สุด

ประยุกต์แนวทางการแก้ปัญหาของโพลยาเพื่อพัฒนาการเขียนทางคณิตศาสตร์

การเขียนทางคณิตศาสตร์ (Writing in Mathematics) มีความสำคัญ และจำเป็นอย่างไรกับการศึกษาคณิตศาสตร์ในทุกระดับ เหตุใดนักคณิตศาสตร์ศึกษาทั่วโลกจึงส่งเสริม และสนับสนุนให้ห้องเรียนคณิตศาสตร์ตระหนักและให้ความสำคัญกับที่มาของคำตอบเหล่านั้น และปฏิเสธที่จะยอมรับการจัดการเรียนการรู้คณิตศาสตร์ที่มุ่งเน้นที่ตัวคำตอบเพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างการสอนตัวประกอบและการแยกตัวประกอบในระดับประถมศึกษา

ตัวประกอบและการแยกตัวประกอบเป็นความรู้พื้นฐานสำคัญสำหรับนักเรียนที่จะต้องนำไปใช้ในการเรียนคณิตศาสตร์ทั้งระดับพื้นฐานและระดับสูง ซึ่งการสอนเรื่องการแยกตัวประกอบจะมีกิจกรรมใดบ้างที่ผู้สอนจะนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจและได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียนำได้บ้าง

1 14 15 16 29

ส่งข้อความถึงเรา
Skip to content