การวิเคราะห์และแก้โจทย์ปัญหาร้อยละด้วยผังงาน
การเรียนเรื่องร้อยละในระดับประถมศึกษานักเรียนจะต้องแสดงวิธีหาคําตอบ ของโจทย์ปัญหาร้อยละได้ 2 – 3 ขั้นตอน การแสดงวิธีหาคําตอบของโจทย์ปัญหา ก็เป็นการแสดงแนวคิด วิธีการ หรือขั้นตอนของการหาคําตอบของโจทย์ปัญหา ซึ่งนักเรียน อาจจะใช้การวาดภาพประกอบ เขียนเป็นข้อความด้วยภาษาง่ายๆ หรืออาจเขียนแสดงวิธีทําอย่างเป็น ขั้นตอน
การเปรียบเทียบเศษส่วนในระดับประถมศึกษา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้บรรจุเนื้อหาเศษส่วนไว้ในรายวิชาพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยเริ่มที่ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการปรับปรุงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับนานาชาติ สำหรับเนื้อหาเศษส่วนได้มีการปรับเปลี่ยนโดยให้เริ่มเรียนการเปรียบเทียบเศษส่วนตั้งแต่ระดับ ประถมศึกษาปีที่ 3
ส่วนกลับของเศษส่วน
บทความนี้อธิบายและชี้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ “ส่วนกลับของเศษส่วน” ซึ่งเป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ของ สสวท.
รอบรู้กับคู่คิด วิทย์-คณิตรับเปิดเทอมใหม่ สนุกกับสื่อออนไลน์ คลังความรู้ SciMath
ต้อนรับเปิดเทอมใหม่ กับสื่อออน […]
กุสตาฟว์-กัสปาร์ คอริออลิส (Gustave-Gaspard Coriolis)
รู้หรือไม่? ทิศทางของมรสุมตะวั […]
การประเมินการปฏิบัติกับการออกแบบกิจกรรม Performance Task
ในปัจจุบัน แนวโน้มของการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผลไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การวัดระดับผลสัมฤทธิ์ในด้านความรู้ของผู้เรียนเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาสมรรถนะหรือความสามารถของผู้เรียนมากขึ้น หลายท่านคงสงสัยว่าจะวัดและประเมินสมรรถนะของผู้เรียนได้อย่างไร การวัดและประเมินสมรรถนะของผู้เรียนทำได้หลายวิธี บทความนี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการประเมินการปฏิบัติ โดยใช้งานหรือกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนปฏิบัติ แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ก่อนที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมดังกล่าว จะขอเริ่มจากการทำความเข้าใจก่อนว่าการประเมินการปฏิบัติเป็นอย่างไร
การเลือกใช้สื่อดิจิทัลกับการจัดการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ในชั้นเรียนในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบข้อความ เช่น ใบความรู้ รูปแบบเสียง เช่น เทป รูปแบบวีดิทัศน์ และคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งสื่อดิจิทัลก็คือสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เหล่านี้ที่ทำให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผ่านอินเทอร์เน็ต ประหยัดเวลาและงบประมาณในการเตรียมสื่อการเรียนการสอนในปัจจุบัน สื่อดิจิทัลก็มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ พ็อดคาสท์ บล็อก วีดิทัศน์ เกม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วีดีโอคอล รวมถึงแอปพลิเคชัน
Facebook กับการอบรมครู
ในบทความนี้ผู้เขียนได้แนะนำการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ของ Facebook เพื่อประยุกต์ใช้ในการอบรมครู
เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ในปัจจุบัน ควาวก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตของคนทั่วโลก เช่น การซื้อขายสินค้า การชำระค่าบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต การจัดการที่จอดรถยนต์ การให้หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ นอกจากนี้เทคโนโลยียังเข้ามามีบทบาทต่อแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นความสนใจ สร้างความสนุกสนานในการเรียนรู้ วัดและประเมินผลผู้เรียน เสริมการเรียนรู้ เช่น การใช้สื่อวิทยาศาสตร์ในรูปแบบ AR (Augmented Reality) แอนิเมชัน วีดิทัศน์ เทคโนโลยีเหล่านี้มีทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียง การสร้างสถานการณ์เสมือนจริง และยังสามารถใช้ช่วยสรุปความเข้าใจในเนื้อหานั้น ๆ ได้อีกด้วย
เกมเพื่อการเรียนรู้คืออะไร
เกมเพื่อการเรียนรู้ (Game Based Learning) เป็นสื่อการเรียนรู้แบบหนึ่ง ที่ผู็เรียนจะได้รับความรู้ผ่านการเล่นเกม ซึ่งมักออกแบบโดยจำลองมาจากสถานการณ์จริงเพื่อให้ผู้เรียนทดลองแก้ปัญหา ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ เกิดจินตนาการ และเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่ายยิ่งขึ้น เพื่อให้เห็นตัวอย่างเกมเพื่อการเรียนรู้ที่ชัดเจน ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างเกม Food Web ที่ผู้เขียนได้ออกแบบและพัฒนา เพื่อใช้สร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสัมพันธ์อันซักซ้อนของสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหาร