ฟิสิกส์

ข่าวประชาสัมพันธ์


บทความน่าสนใจ

ผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม สาระฟิสิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีจำนวนทั้งหมด 67 ผลการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น ผลการเรียนรู้ในหมวดของเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน จำนวน 4 หมวด ซึ่งแต่ละหมวดมีผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ดังรายละเอียดในไฟล์ที่สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์ด้านล่าง

ทั้งนี้ ครูผู้สอนอาจกำหนดผลการเรียนรู้ขึ้นเอง ตามความเหมาะสมและจุดเน้นของโรงเรียน

  1. เข้าใจธรรมชาติทางฟิสิกส์ ปริมาณและกระบวนการวัด การเคลื่อนที่แนวตรง แรงและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฎความโน้มถ่วงสากล แรงเสียดทาน สมดุลกลของวัตถุ งานและกฎการอนุรักษ์พลังงานกล โมเมนตัมและกฎการอนุรักษ์โมเมนตัม การเคลื่อนที่แนวโค้ง รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Word
คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF

2. เข้าใจการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย ธรรมชาติของคลื่น เสียงและการได้ยิน ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสงและการเห็น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแสง รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Word
คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF

3. เข้าใจแรงไฟฟ้าและกฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ความจุไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และกฎของโอห์ม วงจรไฟฟ้ากระแสตรง พลังงานไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า การเปลี่ยนพลังงานทดแทนเป็นพลังงานไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก แรงแม่เหล็กที่กระทำกับประจุไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและกฎของฟาราเดย์ ไฟฟ้ากระแสสลับ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการสื่อสาร รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Word
คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF

4. เข้าใจความสัมพันธ์ของความร้อนกับการเปลี่ยนอุณหภูมิและสถานะของสสาร สภาพยืดหยุ่นของวัสดุและมอดุลัสของยัง ความดันในของไหล แรงพยุง และหลักของอาร์คิมีดีส ความตึงผิวและแรงหนืดของของเหลว ของไหลอุดมคติ และสมการแบร์นูลลี กฎของแก๊ส ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส อุดมคติและพลังงานในระบบ ทฤษฎีอะตอมของโบร์ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ทวิภาวะของคลื่นและอนุภาค กัมมันตภาพรังสี แรงนิวเคลียร์ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์ฟิสิกส์อนุภาค รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Word
คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF

การเทียบเคียงตัวชี้วัดในสาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ กับ ผลการเรียนรู้ในสาระฟิสิกส์

คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Word
คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
(รวมทุกสาระ)

คลิกเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์ภายภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชาฟิสิกส์ มีจำนวนทั้งหมด 22 ตัวชี้วัด โดยแบ่งเป็น ตัวชี้วัดในมาตรฐาน ว 2.2 จำนวน 10 ตัวชี้วัด และ ตัวชี้วัดในมาตรฐาน ว 2.3 จำนวน 12 ตัวชี้วัด ซึ่งแต่ละมาตรฐานมีตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ดังรายละเอียดในเอกสารที่สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์ด้านล่าง

มาตรฐาน ว 2.2

เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Word
คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF

มาตรฐาน ว 2.3

เข้าใจความหมายของพลังงาน การเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสารและพลังงาน พลังงานในชีวิตประจำวัน ธรรมชาติของคลื่น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง แสง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Word
คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF


การเทียบเคียงตัวชี้วัดในสาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ กับ ผลการเรียนรู้ในสาระฟิสิกส์

คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ Word
คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (รวมทุกสาระ)

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง รวมทั้ง ผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นั้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนาคู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ และ คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้หลักสูตร อาทิ บุคลากรทางการศึกษา ผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทุกระดับของประเทศ ผู้เขียนตำราและสื่อการเรียนรู้ประกอบหลักสูตร และสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์ในการจัดทำหรือจัดหาตำราเรียน สื่อการเรียนรู้ประกอบหลักสูตร การจัดทำแบบทดสอบและข้อสอบ การประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูและสถานศึกษา และอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร ไม่เกิดความสับสนหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์ตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้ต่าง ๆ ตามหลักสูตรอย่างเช่นในอดีต

ในการวิเคราะห์ตัวชี้วัดตามมาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ และผลการเรียนรู้ สาระฟิสิกส์ ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีการวิเคราะห์ทั้งในด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain) พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย (psychomotor domain) และพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านเจตคติ (affective domain) ที่เป็นเป้าหมายปลายทางของตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ผู้เรียนได้แสดงออกมาหลังจากเรียนรู้ตามตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้เหล่านั้น นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยแนวการจัดการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียน และแนวการประเมินการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และเจตคติที่วิเคราะห์ได้จากตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้

ผู้สอนสามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) และ คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สาระฟิสิกส์ ได้จากการคลิกที่รูปด้านล่าง

คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) 

คลิกที่รูปเพื่อดาวน์โหลดไฟล์

คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์  ระดับ ม.ปลาย

คลิกที่ชั้นปี เพื่อดาวน์โหลดไฟล์คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมฟิสิกส์ ของแต่ละชั้นปี

 ตั้งแต่ได้มีการเริ่มก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในปี พ.ศ. 2515 จวบจนถึงปี พ.ศ. 2559 หลักสูตรวิชาฟิสิกส์ ระดับ ม.ปลาย ได้มีการแก้ไขและพัฒนาจำนวนหลายฉบับโดยในแต่ละหลักสูตรมีแนวคิด จุดประสงค์ และแนวทางการนำเสนอที่แตกต่างกัน เชิญศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรวิชาฟิสิกส์ของ สสวท. จากหลักสูตร พ.ศ. 2519 – หลักสูตร พ.ศ. 2551 โดยคลิกดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ภาพด้านล่าง

เชิญศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหาในหนังสือเรียน ได้จากคู่มือครู รายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฟิสิกส์ และคู่มือครู รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์กายภาพ ชั้น ม.5 เล่ม 2  โดยคลิกที่ภาพหน้าปกของคู่มือครูเล่มที่ต้องการ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่หน้าดาวน์โหลด

ในการสอนวิชาใด ๆ ก็ตาม ครูผู้สอนจะต้องเข้าใจถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องสอนวิชานั้นเสียก่อน เพราะความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นสิ่งกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ครูผู้สอนต้องรับผิดชอบ ดังนั้นครูฟิสิกส์จึงต้องศึกษาให้เข้าใจในจุดประสงค์ของวิชาฟิสิกส์ เพื่อการตัดสินใจเลือกดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพของแต่ละชั้นเรียน

ก่อนที่จะพิจารณาจุดประสงค์ของวิชาฟิสิกส์ ขอให้ครูผู้สอนทำความเข้าใจกับจุดประสงค์รวม ของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ดังต่อไปนี้

  1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักการและทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานของวิชาวิทยาศาสตร์
  2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลักษณะ ขอบเขตและข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์
  3. เพื่อให้เกิดทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการ ทักษะในการสื่อสารและความสามารถในการตัดสินใจ
  5. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์และสภาพแวดล้อมในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน
  6. เพื่อให้นำความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า
  7. เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมในการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์

จุดประสงค์ข้อแรก ขยายความได้ว่าต้องการให้มีความรู้ในเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เป็นฐานในการศึกษาระดับสูงต่อไป อย่างไรก็ดีจุดประสงค์ข้อนี้ยังมิได้มุ่งการเตรียมตัวนักเรียนให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ 

จุดประสงค์ข้อสอง ต้องการให้นักเรียนเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความแตกต่างจากศาสตร์อื่น ๆ ในหลายด้าน เช่น นักวิทยาศาสตร์จะสนใจแต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์จะเชื่อในสิ่งที่ตรวจสอบยืนยันความเป็นจริงได้ด้วยประสาทสัมผัสหรือเครื่องมือที่ขยายขอบเขตประสาทสัมผัสของมนุษย์เท่านั้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต้องเป็นความจริงสากล นั่นคือสามารถทดสอบได้ทุกเมื่อไม่จำกัดสถานที่หรือตัวบุคคล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีข้อมูลหรือหลักฐานที่พบขึ้นใหม่ เป็นต้น  

จุดประสงค์ข้อสาม ต้องการให้นักเรียนมีทักษะที่จำเป็นในการศึกษาค้นคว้าคิดค้นและแก้ปัญหาโดยเน้นฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยการให้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำกิจกรรมและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การไม่เชื่อคำกล่าวที่เลื่อนลอย การใช้คำอธิบายที่มีเหตุผลหรือมีหลักฐานยืนยันที่เหมาะสม การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และยอมเปลี่ยนความคิดเห็น เมื่อได้ข้อมูลหรือหลักฐานใหม่ที่เหมาะสมกว่าเดิม มีความซื่อตรงไม่บิดเบือนข้อมูลหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ 

จุดประสงค์ข้อสี่ ต้องการให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดและมีจินตนาการในเชิงสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหา สามารถสื่อสารสิ่งที่ค้นพบจากการเรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ และสามารถตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลอย่างมีเหตุผล 

จุดประสงค์ข้อห้า ต้องการให้นักเรียนเข้าใจและระมัดระวังในผลกระทบของเทคโนโลยีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งเข้าใจถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในสังคมมนุษย์ที่มีต่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

 จุดประสงค์ข้อหก ต้องการให้นักเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับชีวิตความเป็นอยู่ได้ เช่น รู้จักดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม งดเว้นสิ่งที่จะบั่นทอนสุขภาพ รู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ รู้จักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสม เป็นต้น

จุดประสงค์ข้อเจ็ด ต้องการปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตวิทยาศาสตร์ซึ่งได้แก่ การไม่เชื่อคำกล่าว ที่เลื่อนลอย การใช้คำอธิบายที่ไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานยืนยันที่เหมาะสม การยอมรับฟังความคิดเห็น ของผู้อื่นและยอมเปลี่ยนความคิดเห็น เมื่อได้ข้อมูลหรือหลักฐานใหม่ที่เหมาะสมกว่าเดิม มีความซื่อตรง ไม่บิดเบือนข้อมูลหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมในการใช้ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์ 

                จากจุดประสงค์รวมของหลักสูตรวิทยาศาสตร์ เมื่อนำมากำหนดเป็นจุดประสงค์เฉพาะของกลุ่ม วิชาฟิสิกส์อาจเขียนได้ดังต่อไปนี้

1.       เพื่อให้เข้าใจในปรากฎการณ์ธรรมชาติ หลักการ ทฤษฎีและกฎที่เป็นพื้นฐานของวิชาฟิสิกส์

2.       เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่สังเกตได้จากปรากฎการณ์จริงกับคำอธิบายทางทฤษฎี

3.       เพื่อให้เข้าใจและยอมรับในขอบเขตของข้อมูลที่ได้ว่า ขึ้นกับขีดความสามารถของเครื่องมือวัด

4.       เพื่อให้เกิดทักษะในการศึกษาค้นคว้าและแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5.       เพื่อให้สามารถใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการนำหลักการทางฟิสิกส์ไปประยุกต์ในด้านต่าง ๆ ทั้งเชิงความคิดและเชิงการปฏิบัติ

6.       เพื่อให้มีความสนใจใฝ่รู้ในเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์

7.       เพื่อให้มีความใจกว้าง คิดและปฏิบัติอย่างมีเหตุผล

8.       เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ ผลดีและผลเสียต่อสังคมในการนำความรู้ทางฟิสิกส์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ

9.       เพื่อให้ตระหนักในอิทธิพลของสังคมที่มีต่อการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

               ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูจะต้องพิจารณาว่า กิจกรรมนั้น ๆ มุ่งให้บรรลุตามจุดประสงค์ข้อใดบ้าง โดยพยายามให้ครอบคลุมทุกจุดประสงค์เท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งขึ้นกับเนื้อหาแต่ละหัวข้อ


ในการดำเนินการสอนเพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ จำเป็นต้องใช้วิธีการสอนหลายแบบผสมผสานกันไป จะใช้วิธีใดเพียงวิธีเดียวย่อมไม่ประสบผลสำเร็จ วิธีการสอนที่แนะไว้ ได้แก่


1. การใช้คำถาม

               เนื่องจากจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนอกจากจะมุ่งหวังให้นักเรียนจดจำเนื้อหาที่เป็นความรู้ พื้นฐานทางฟิสิกส์ได้แล้ว ยังต้องการให้นักเรียนสามารถอธิบายเปรียบเทียบ วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ คาดคะเนผลสรุป ฯลฯ ได้อีกด้วย ในการฝึกให้มีความสามารถดังกล่าวหรือที่เรียกว่า ให้คิดเป็นนั้น ครู ต้องให้โอกาสนักเรียนได้ฝึกคิด โดยครูเป็นผู้ป้อนคำถามต่าง ๆ คอยช่วยกระตุ้นให้กำลังใจ และชี้แนะแนว ทางในการตอบปัญหาให้เป็นไปตามขึ้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

               ครูควรเตรียมตั้งคำถามสำหรับแต่ละตอนของบทเรียนล่วงหน้า โดยคำนึงถึงพื้นฐานประสบการณ์ เดิมของนักเรียนเป็นสำคัญ ถ้าครูมานึกคำถามอย่างเร่งรีบระหว่างการสอนอาจทำให้ได้คำถามที่ไม่เหมาะสม เช่น ยากเกินไป ง่ายเกินไป หรือมีลักษณะไม่ยั่วยุให้นักเรียนสนใจคิดหาคำตอบ ครูผู้สอนจะต้องอดทนในการรอคอยคำตอบขณะที่นักเรียนกำลังคิดและพึงระลึกไว้เสมอว่า ปฏิกิริยาของครูที่มีต่อคำตอบของนักเรียนจะมีส่วนอย่างมากในการเสริมสร้างหรือทำลายความกระตือรือร้นที่จะตอบปัญหาของนักเรียน 

                ถ้าครูใช้คำถามบ่อย ๆ และพยายามศึกษาปรับปรุงการใช้คำถามอยู่เสมอจะมีผลให้คำถามของครูมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของนักเรียนเพิ่มมากขึ้น และบรรยากาศของการเรียนการสอนจะมีชีวิตชีวาไม่น่าเบื่อทั้งสำหรับครูและนักเรียน

2. การทดลอง กิจกรรมและการสาธิต

                การสอนวิชาฟิสิกส์บางตอนอาจเริ่มด้วยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหรือการทดลอง และสังเกตผลการทดลองตามขึ้นตอนต่าง ๆ แล้วครูใช้คำถามเพื่อนำไปสู่ข้อสรุปของการทดลองนั้น ๆ แทนที่ครูจะเล่าการทดลองและบอกผลสรุปโดยตรง ซึ่งใช้เวลาในการสอนน้อยกว่าวิธีแรกมาก แต่วิธีสอนแบบบอกผลสรุปโดยตรง นักเรียนจะไม่มีโอกาสได้ฝึกการสังเกต ฝึกบันทึกข้อมูล ไม่มีโอกาสได้หยิบจับอุปกรณ์ทำการทดลอง ซึ่งเป็นประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่เสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ การฝึกให้นักเรียนได้วิเคราะห์ข้อมูล นัยหนึ่งก็คือ การสรุปอย่างมีเหตุมีผลนั่นเอง ก็เป็นการปลูกฝัง เจตคติทางวิทยาศาสตร์ให้แก่นักเรียนทางหนึ่ง

                 ผลที่ได้จากการทดลองของนักเรียนอีกประการหนึ่งก็คือ จากการพบปัญหาในการทดลองและ หาวิธีแก้ปัญหาเหล่านั้นเพื่อให้การทดลองสัมฤทธิ์ผล นักเรียนจะได้เรียนรู้แนวการคิดแก้ปัญหาที่สอดคล้องตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยการปฏิบัติ มิใช่ด้วยการท่องจำขั้นตอนเป็นข้อ ๆ ดังนั้นนัก เรียนจะมีความมั่นใจในการนำวิธีการแก้ปัญหาที่ได้เรียนรู้โดยตรงไปใช้แก้ปัญหาที่ประสบในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

                  ครูอาจใช้การสาธิตเพื่อจูงใจนักเรียนให้เกิดความสนใจใคร่รู้ในเนื้อหาที่จะดำเนินการสอนต่อไปโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือทำนายผลที่จะเกิดขึ้น อันจะมีผลให้นักเรียนรู้สึกว่าการเรียนมีชีวิตชีวา ไม่น่าเบื่อหน่าย ในบางการทดลองซึ่งนักเรียนไม่มีโอกาสได้ทดลองด้วยตัวเอง ครูควรทำการสาธิตการทดลองนั้น ๆ ให้นักเรียนดู แต่ครูจะต้องระลึกไว้เสมอว่า การสาธิตไม่อาจทดแทนการทดลองของนักเรียนได้ และครูควรให้นักเรียนได้ทำการทดลองด้วยตัวนักเรียนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

3. การอภิปราย

                   การสอนวิชาฟิสิกส์ที่มุ่งปลูกฝังให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง ยอมรับฟังความคิดเห็นของ ผู้อื่นอย่างมีเหตุผล กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ซึ่งจัดว่าเป็นการปลูกฝังเจตคติทางวิทยาศาสตร์นั้น ครูควรดำเนินการสอนโดยให้เด็กได้มีโอกาสอภิปรายร่วมกัน โดยครูเป็นผู้คอยแนะนำและควบคุมมิให้ออกนอกทาง การสอนเช่นนี้จะมีส่วนสร้างเสริมเจตคติทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าวโดยตรง

                   ครูอาจใช้การอภิปรายเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหาที่ต้องการจะสอนต่อไป หรืออภิปรายเพื่อนำไปสู่การ สังเกต การทดลอง และที่จำเป็นที่สุดก็คือ ใช้การอภิปรายเพื่อสรุปผลการทดลอง อย่างไรก็ดี ครูต้องคำนึงถึงเวลาที่มีอยู่ด้วย โดยพยายามจัดแบ่งเวลาและควบคุมการอภิปรายให้อยู่ในขอบเขตของเวลาที่ กำหนดให้

4. เวลาในการสอน

                   ช่วงเวลาที่กำหนดไว้ของบทเรียน รวมทั้งช่วงเวลาที่ระบุในแต่ละการทดลอง ครูผู้สอนอาจปรับยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม เพราะตามที่เสนอแนะไว้เป็นการประมาณช่วงเวลาสำหรับกรณีไม่มี กิจกรรมพิเศษหรือปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้เวลาในการสอนบทเรียนต้องลดน้อยลง

การวัดผลการเรียนรู้ในบทเรียนแต่ละบทนั้น ครูควรพิจารณาจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนก่อนว่า ครอบคลุมทั้งเนื้อหาและพฤติกรรมการเรียนรู้ทุก ๆ ด้านหรือยัง ครูควรกำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนนั้น ๆ เพิ่มเติมอีกตามความเหมาะสม และพึงระวังไว้เสมอว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ในวิชาวิทยาศาสตร์มิได้มีแต่ด้านความรู้ความจำเท่านั้น แต่ยังมีด้านความเข้าใจ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการนำความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ รวมทั้งด้านเจตคติและความสนใจอีกด้วย การระบุจุดประสงค์ของบทเรียนจึงควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้การวัดผลตามจุดประสงค์เหล่านั้น ครอบคลุมทั้งเนื้อหาและพฤติกรรมการเรียนรู้ทุก ๆ ด้านตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร


การวัดผลการเรียนรู้อาจกระทำได้หลายทาง เช่น ให้นักเรียนทำแบบทดสอบ ซึ่งอาจมีทั้งที่เป็นข้อเขียนและภาคปฏิบัติ หรือครูสังเกตพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกขณะเรียน เป็นต้น ข้อมูลที่ได้จากการวัด ผลดังกล่าวจะเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด นอกจากขึ้นกับจำนวนครั้งที่ทำการวัดแล้ว ยังขึ้นกับคุณภาพของแบบทดสอบและความสามารถในการสังเกตของครูอีกด้วย การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับหลักการและวิธีการสร้างแบบทดสอบรวมทั้งการฝึกหัดสร้างแบบทดสอบอยู่เสมอ จะทำให้ได้แบบทดสอบที่มีคุณภาพ สำหรับการประเมินผลการเรียนการสอนนั้นครูควรพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและยุติธรรม ซึ่งครูสามารถศึกษาได้จาก คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์ ที่จัดทำโดยสาขาประเมินมาตรฐาน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ในร้านหนังสือขององค์การค้า สกสค. หรือ ร้านหนังสือบางร้าน เช่น ร้านซีเอ็ด ศูนย์หนังสือจุฬา หรือ สามารถดาวน์โหลดได้โดยคลิกที่ภาพด้านล่าง

สะเต็มศึกษา คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ  5  ประการได้แก่

  1. เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ
  2. ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ 
  3. เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 
  4. ท้าทายความคิดของนักเรียน
  5. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา 

จุดประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรักและเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์  และเห็นว่าวิชาเหล่านั้นเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตประจำวัน 

             ระดับการบูรณาการที่อาจเกิดขึ้นในชั้นเรียนสะเต็มศึกษาสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ การบูรณาการภายในวิชา (disciplinary), การบูรณาการแบบพหุวิทยากร (multidisciplinary integration), การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (interdisciplinary integration) และ การยูรณาการแบบข้ามสาขาวิชา (transdisciplinary integration) ดังแสดงในรูป

การบูรณาการภายในวิชา คือ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะของแต่ละวิชาของสะเต็มแยกกัน การจัดการเรียนรู้แบบนี้คือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เป็นอยู่ทั่วไปที่ครูผู้สอนแต่ละวิชาต่างจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนตามรายวิชาของตนเอง

               การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ คือ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะของวิชาของวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์แยกกัน โดยมีหัวข้อหลัก (theme) ที่ครูทุกวิชากำหนดร่วมกัน และมีการอ้างอิงถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิชานั้นๆ การจัดการเรียนรู้แบบนี้ช่วยให้นักเรียนเห็นความเชื่อมโยงของเนื้อหาในวิชาต่างๆ กับสิ่งที่อยู่รอบตัว  

               การบูรณาการแบบสหวิทยาการ  คือ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะอย่างน้อย 2 วิชาร่วมกันโดยกิจกรรมมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของทุกวิชาเพื่อให้นักเรียนได้เห็นความสอดคล้องกัน ในการจัดการเรียนรู้แบบนี้ ครูผู้สอนในวิชาที่เกี่ยวข้องต้องทำงานร่วมกันโดยพิจารณาเนื้อหาหรือตัวชี้วัดที่ตรงกันและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาของตนเองโดยให้เชื่อมโยงกับวิชาอื่นผ่านเนื้อหาหรือตัวชี้วัดนั้น 

               การบูรณาการแบบข้ามสาขาวิชา  คือ การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยนักเรียนเชื่อมโยงความรู้และทักษะที่เรียนรู้จากวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์กับชีวิตจริง โดยนักเรียนได้ประยุกต์ความรู้และทักษะเหล่านั้นในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนหรือสังคม และสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของตัวเอง ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความสนใจหรือปัญหาของนักเรียน โดยครูอาจกำหนดกรอบหรือ theme ของปัญหากว้างๆ ให้นักเรียนและให้นักเรียนระบุปัญหาที่เฉพาะเจาะจงและวิธีการแก้ปัญหาเอง ทั้งนี้ ในการกำหนดกรอบของปัญหาให้นักเรียนศึกษานั้น ครูต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ปัจจัยกับการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่  (1) ปัญหาหรือคำถามที่นักเรียนสนใจ  (2) ตัวชี้วัดในวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ (3) ความรู้เดิมของนักเรียน  การจัดการเรียนรู้แบบ problem/ project-based learning เป็นกลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ (instructional strategies) ที่มีแนวทางใกล้เคียงกับแนวทางบูรณาแบบนี้

แนวทางการวัดผลประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา

                 การวัดและประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา นอกจากมีการวัดผลการเรียนรู้ตามแนวทางการวัดผลของสาขาวิชาที่นำมาบูรณาการร่วมกันแล้ว ยังต้องมีการวัดสมรรถนะในการนำความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้การออกแบบและพัฒนาชิ้นงาน รวมทั้งทักษะสำคัญของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ (critical thinking) การคิดสร้างสรรค์ (creative thinking) การทำงานร่วมกันเป็นทีม (collaboration) และ การสื่อสาร (communication) ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากตัวอย่างของเกณฑ์การประเมินกิจกรรมแบบโครงงานเป็นฐาน (project-based learning) เรื่อง ชาร์จแบตเตอรี่ด้วยพลังงานสะอาด จากรายการเอกสารด้านล่างนี้

  • ตัวอย่างของเกณฑ์การประเมินการออกแบบและสร้างชิ้นงาน การทำงานร่วมกันเป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ และ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์  (ดาวน์โหลดไฟล์ .docx .pdf)
  • ตัวอย่างของเกณฑ์การประเมินทักษะการสื่อสารและการนำเสนอ (ดาวน์โหลด .docx .pdf )
  • ตัวอย่างของเกณฑ์การประเมินตนเอง ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม  (ดาวน์โหลด .docx .pdf )

E-BOOKS และ ตัวอย่างหนังสือเรียนฟิสิกส์ หลักสูตรฯ 2560

เชิญเลือกซื้อ E-Book ของหนังสือเรียนแต่ละเล่ม พร้อมดูตัวอย่างหนังสือได้ โดยคลิกที่ภาพหน้าปกของหนังสือเรียนเล่มที่ต้องการ (ตัวอย่างหนังสือประกอบด้วย สารบัญ คำอธิบายรายวิชา และเนื้อหาบางส่วนของหนังสือเรียน) 


AR วิทย์กายภาพ 2 ม.5
ใช้ได้กับทั้งมือถือและแท็บเล็ตที่เป็น Andorid และ iOS ค้นหาแอปพลิเคชันได้ทั้งใน App Store และ Play Store

Sound Experiment
เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องติดตั้งลงอุปกรณ์ กดที่รูปเพื่อไปที่หน้าการใช้งานแอปพลิเคชัน

ล้อกับเพลา
เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องติดตั้งลงอุปกรณ์ กดที่รูปเพื่อไปที่หน้าการใช้งานแอปพลิเคชัน

พื้นเอียง
เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องติดตั้งลงอุปกรณ์ กดที่รูปเพื่อไปที่หน้าการใช้งานแอปพลิเคชัน

รอก
เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องติดตั้งลงอุปกรณ์ กดที่รูปเพื่อไปที่หน้าการใช้งานแอปพลิเคชัน

ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องติดตั้งลงอุปกรณ์ กดที่รูปเพื่อไปที่หน้าการใช้งานแอปพลิเคชัน

การเขียนแผนภาพวัตถุอิสระ
เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องติดตั้งลงอุปกรณ์ กดที่รูปเพื่อไปที่หน้าการใช้งานแอปพลิเคชัน
การแทรกสอดของแสง
เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องติดตั้งลงอุปกรณ์ กดที่รูปเพื่อไปที่หน้าการใช้งานแอปพลิเคชัน
กฏการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์
เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่ไม่ต้องติดตั้งลงอุปกรณ์ กดที่รูปเพื่อไปที่หน้าการใช้งานแอปพลิเคชัน

เชิญเลือกศึกษาวีดิทัศน์การสอนของหัวข้อต่าง ๆ ตามหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมฯ ฟิสิกส์ เล่ม 1 – 6 และ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานฯ วิทยาศาสตร์กายภาพ เล่ม 2 โดยคลิกที่รูปตามเล่มที่ต้องการ

ดาวน์โหลดเฉลยแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์  ตามหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 แต่ละเล่ม โดยเลือกคลิกที่รูปที่มีหน้าปกของเล่มที่ต้องการ

ศึกษาหลักการทำงาน ส่วนประกอบ และ วิธีใช้ของอุปกรณ์การทดลองทางฟิสิกส์ตามหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฟิสิกส์ เล่ม 1 – 6 ตามหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560 โดยคลิกที่รูปด้านล่าง

เชิญดาวน์โหลดเอกสารประกอบการอบรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาฟิสิกส์ ระดับ ม.ปลาย ได้ โดยคลิกที่รูปด้านล่าง

ติดต่อกลุ่มวิชาฟิสิกส์


โทรศัพท์ 0 2392 4021
ต่อ 2208, 2210


โทรสาร
0 2392 3772


อีเมล
physicsipst@gmail.com


เฟซบุ๊ก
fb.com/physics.ipst

ฤทัย เพลงวัฒนา

ผู้อำนวยการสาขาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์โลก, ผู้ชำนาญ
ruboo@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1150

จอมพรรค นวลดี

นักวิชาการ
cnuan@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1165

ดร.กวิน เชื่อมกลาง

ผู้ชำนาญ
kchau@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1152

รักษพล ธนานุวงศ์

ผู้ชำนาญ
rthan@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1156

ธนะรัชต์ คัณทักษ์

นักวิชาการ
tkhun@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1167

ดร.นันท์นภัส ลิ้มสันติธรรม

ผู้ชำนาญ
nlims@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1154

ดร.ปรีดา พัชรมณีปกรณ์

นักวิชาการ
ppatc@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1164

สรจิตต์ อารีรัตน์

นักวิชาการ
sarre@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1166

วินัย เลิศเกษมสันต์

ผู้ชำนาญ
wlerd@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1155

ดร.จำเริญตา ปริญญาธารมาศ

นักวิชาการ
jpira@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1161

มนัสวี กิมพิทักษ์

เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป
mkimp@ipst.ac.th, เบอร์ต่อ 1158


พันธกิจกลุ่มวิชาฟิสิกส์

กลุ่มวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์โลก สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

  • ริเริ่ม ส่งเสริม ประสาน และจัดให้มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนรู้ วิธีการสอน และการประเมินผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ส่งเสริม ประสาน และจัดให้มีการพัฒนาบุคคลากร การฝึกอบรมครู อาจารย์ นักเรียน นิสิต และนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัยทางด้านฟิสิกส์
  • ส่งเสริม ประสาน และจัดให้มีการค้นคว้า วิจัย ปรับปรุง และจัดทำแบบเรียน แบบฝึกหัด เอกสารทางวิชาการ และสื่อการเรียนการสอนทุกประเภท ตลอดทั้งประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับการเรียนการสอน และการทำการทดลองทางฟิสิกส์


ส่งข้อความถึงเรา